ตลาด
บัญชี
แพลตฟอร์ม
นักลงทุน
โปรแกรมพันธมิตร
สถาบัน
โปรแกรมความภักดี
เครื่องมือ
เขียนโดย Itsariya Doungnet
อัปเดตแล้ว 2 กรกฎาคม 2025
หากคุณกำลังสงสัยอยู่ว่า อินดิเคเตอร์ MACD คืออะไร เราเตรียมเนื้อหาครบจบ เข้าใจง่าย มาให้แล้วที่นี่ เครื่องมือตัวชี้วัดทางเทคนิค MACD นักเทรดทุกคนสามารถปรับใช้ได้ไม่ยาก เรียนรู้ความหมาย MACD วิธีอ่านค่า MACD ส่วนประกอบสำคัญ และแนวทางการใช้งานเบื้องต้น กันต่อได้เลย!
MACD คือ อินดิเคเตอร์ทางเทคนิค ที่ช่วยวิเคราะห์แนวโน้มและแรงซื้อ-ขายในตลาด โดยจะใช้ความแตกต่างระหว่าง EMA ระยะสั้นและยาว
MACD ประกอบไปด้วย เส้น MACD, เส้น Signal และ Histogram ซึ่งแสดงทิศทางและโมเมนตัมของราคาได้ชัดเจน
การอ่านค่า MACD เพื่อหาสัญญาณซื้อ-ขาย สามารถทำได้จากการตัดกันของเส้น MACD กับ Signal และตำแหน่งเทียบกับเส้นศูนย์
MACD ใช้งานได้กับทุกสินทรัพย์ ทั้งหุ้น คริปโต และ Forex เหมาะสำหรับทั้งนักเทรดระยะสั้นและนักลงทุนระยะยาว
ลงทะเบียนบัญชีเดโม่ฟรีและปรับกลยุทธ์การเทรดของคุณ
MACD คือ อินดิเคเตอร์ที่ใช้วิเคราะห์ราคาตลาดเทรด ช่วยให้นักเทรดเห็นสัญญาณการซื้อขายได้ง่ายและแม่นยำมากขึ้น MACD ทำงานโดยการเปรียบค่าเฉลี่ยนของเส้น EMA ระยะสั้นและระยะยาว เพื่อวัดกำลังแรงซื้อและแรงขาย ส่วนประกอบของ MACD จะมีด้วยกัน 3 ส่วน ดังนี้:
เส้น MACD คือ ผลต่างระหว่าง EMA ระยะสั้นและระยะยาว
เส้น Signal คือ EMA ของเส้น MACD
Histogram แสดงความแตกต่างระหว่างเส้น MACD กับเส้น Signal
การคำนวณ MACD เป็นการอิงจากค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบเอ็กซ์โพเนนเชียล (EMA) ในสองช่วงเวลาที่แตกต่างกัน เพื่อวัดความแตกต่างและความสัมพันธ์ระหว่างค่าเฉลี่ย ช่วยให้นักเทรดเห็นแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของราคาได้
คำนวณ EMA 12 วัน (EMA ระยะสั้น): EMA จะให้น้ำหนักราคาล่าสุดมากกว่าราคาที่ผ่านมา ทำให้ตอบสนองกับการเปลี่ยนแปลงของราคาได้เร็วกว่า Moving Average แบบธรรมดา
คำนวณ EMA 26 วัน (EMA ระยะยาว): EMA ช่วงนี้จะตอบสนองช้ากว่า EMA 12 วัน เพราะเฉลี่ยราคาย้อนหลังในระยะเวลาที่นานกว่า
คำนวณเส้น MACD (MACD Line): ค่านี้แสดงความแตกต่างของ EMA ระยะสั้นกับระยะยาว ถ้า EMA 12 อยู่สูงกว่า EMA 26 ค่า MACD จะเป็นบวก และในทางกลับกัน
คำนวณเส้น Signal (Signal Line): เส้นนี้คือ EMA 9 วันของค่า MACD และเส้นนี้ใช้เป็นสัญญาณช่วยยืนยันจุดซื้อขาย
คำนวณ Histogram: Histogram คือความต่างระหว่าง MACD กับ Signal และHistogram แสดงโมเมนตัมของตลาด เช่น ถ้า Histogram ขยายขึ้นแสดงแรงซื้อกำลังเพิ่มขึ้น
เรามาดูวิธีการอ่าน MACD เพื่อหา สัญญาณซื้อขายจาก MACD กันต่อเลย นี่ก็เพื่อให้นักเทรดเห็นจังหวะการเข้าซื้อขายตลาดได้อย่างละเอียด และเพิ่มความแม่นยำในการเทรดมากยิ่งขึ้น
สัญญาณซื้อ จะเกิดขึ้นเมื่อเส้น MACD ตัดขึ้นเหนือเส้น Signal แปลว่าแนวโน้มราคากำลังเริ่มเปลี่ยนจากขาลงเป็นขาขึ้น เป็นจังหวะที่นักเทรดเริ่ม "เปิดสถานะซื้อ" เพราะแสดงถึงแรงซื้อที่เริ่มเข้ามาในตลาด หากจุดตัดนี้เกิดขึ้นขณะที่ MACD อยู่ต่ำกว่าเส้นศูนย์ (หรือติดลบ) เพราะอาจเป็นจุดกลับตัวจากแนวโน้มขาลงที่ชัดเจน
อีกสัญญาณหนึ่ง คือ เมื่อ MACD เคลื่อนขึ้นผ่านเส้นศูนย์ หมายถึง ตลาดกำลังเปลี่ยนเป็นขาขึ้นในภาพรวม และยืนยันว่าแนวโน้มบวกเริ่มชัดเจนขึ้น หาก Histogram เริ่มหดตัวจากค่าลบและเปลี่ยนเป็นค่าบวก นั่นแสดงว่าแรงขายกำลังอ่อนลงและแรงซื้อเริ่มเข้ามาแทน เป็นอีกสัญญาณที่บ่งบอกว่าถึงเวลาพิจารณาเข้าซื้อ
สัญญาณขาย มักเกิดขึ้นเมื่อ การตัดกันของเส้น MACD ลงต่ำกว่าเส้น Signal เป็นสัญญาณว่าแนวโน้มขาขึ้นเริ่มหมดแรง และราคามีแนวโน้มจะปรับตัวลง นักเทรดหลายคนจะใช้จังหวะนี้ในการ "ขายทำกำไร" หรือ "ปิดสถานะ" หาก MACD ตัดลงผ่านเส้นศูนย์ นั่นยิ่งชี้ชัดว่าตลาดอาจเข้าสู่ช่วงขาลง
เรียกได้ว่าเป็นจุดที่หลายคนใช้ยืนยันว่าควรหลีกเลี่ยงการซื้อเพิ่มในช่วงนี้ ส่วน Histogram MACD คือ การที่เปลี่ยนจากค่าบวกเป็นค่าลบ บ่งบอกว่าโมเมนตัมขาขึ้นกำลังหมด และแรงขายเริ่มมีอิทธิพลมากขึ้น อาจเป็นการเตือนล่วงหน้าว่าราคาเตรียมจะปรับตัวลง
เหตุผลที่ทำให้ การใช้ MACD ในการเทรด ได้รับความนิยมีหลายปัจจัย ดังนี้:
MACD แสดงผลด้วยเส้นกราฟเพียงไม่กี่เส้น ได้แก่ เส้น MACD, เส้น Signal และ Histogram ทำให้ไม่ซับซ้อนเหมือนอินดิเคเตอร์บางตัวที่ต้องตีความหลายปัจจัยพร้อมกัน มือใหม่สามารถมองเห็นจุดตัด จุดกลับตัว และแนวโน้มได้ชัดเจน ไม่จำเป็นต้องมีพื้นฐานการวิเคราะห์เชิงลึกก็สามารถเริ่มต้นใช้งานได้ทันที
การวิเคราะห์กราฟด้วย MACD ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยจับทิศทางของแนวโน้มโดยอ้างอิงจากความสัมพันธ์ของค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ระยะสั้นและระยะยาว หากเส้น MACD อยู่เหนือเส้นศูนย์ (0) แสดงถึงแนวโน้มขาขึ้น ในทางกลับกัน หากอยู่ต่ำกว่าศูนย์ หมายถึง แนวโน้มขาลงเมื่อ Histogram เริ่มหดตัวหรือเปลี่ยนสี ก็สามารถใช้เป็นสัญญาณเตือนว่าตลาดอาจใกล้กลับทิศอีกด้วย
นี่ก็เป็นอีกจุดเด่นของ MACD คือ การอ่านสัญญาณ MACD จุดเข้า-จุดออก ที่เข้าใจได้ง่าย เช่น เมื่อเส้น MACD ตัดขึ้นเหนือเส้น Signal ถือเป็นสัญญาณซื้อ และเมื่อตัดลงต่ำกว่าคือสัญญาณขาย ความแรงของ Histogram ยังช่วยบอกโมเมนตัมของราคาในช่วงเวลานั้น ๆ ช่วยลดความเสี่ยงจากการเข้าเทรดในจังหวะที่ตลาดไม่แน่นอน
MACD ใช้ได้กับทุกตลาดเทรด ไม่ว่าจะเป็น หุ้นในตลาดไทย เล่นคริปโตใน Binance หรือเก็งกำไร Forex ในตลาดต่างประเทศ MACD สามารถประยุกต์ใช้ได้ทั้งหมด เพราะหลักการของอินดิเคเตอร์นี้ยึดตามพฤติกรรมของราคา ไม่ขึ้นกับประเภทสินทรัพย์ ทำให้คุณสามารถใช้ความรู้ชุดเดียวกันไปวิเคราะห์กราฟทุกชนิดได้สะดวก
MACD มีความยืดหยุ่นสูง สามารถปรับใช้กับกรอบเวลาเทรดต่าง ๆ ได้ตามสไตล์ของผู้ใช้งาน หากคุณเป็นนักเทรดรายวัน ก็สามารถใช้ MACD จับจังหวะในกราฟรายนาทีหรือรายชั่วโมงได้ สำหรับนักลงทุนระยะกลางถึงยาว ก็ใช้ MACD ในกราฟรายวันหรือรายสัปดาห์เพื่อติดตามแนวโน้มภาพใหญ่ได้เช่นกัน
การเลือกใช้เครื่องมือ MACD ก็มีข้อจำกัดอยู่หลากหลายเช่นเดียวกัน เรามาดูกันเลยว่ามีอะไรกันบ้าง
อาจจะมีสัญญาณหลอกในตลาดชะลอตัวได้ง่าย: เส้น MACD และ Signal ตัดกันบ่อยในช่วงราคาขยับในกรอบแคบ ส่งผลให้เกิดสัญญาณซื้อขายที่ไม่น่าเชื่อถือ
เครื่องมือนี้อาจจะตอบสนองช้าในบางกรณี: MACD ใช้ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ จึงมีความล่าช้าในการแสดงสัญญาณ โดยเฉพาะเมื่อราคาหันกลับทิศทางเร็ว ๆ
ไม่สามารถบอกจุดราคาที่ชัดเจนได้: MACD ช่วยระบุแนวโน้มและโมเมนตัม แต่ไม่สามารถบอกราคาที่เหมาะสมสำหรับซื้อหรือขายได้อย่างแม่นยำ
ต้องปรับแต่งค่าให้เหมาะสมกับตลาดและกรอบเวลา: ค่าเริ่มต้นของ MACD อาจไม่เหมาะกับทุกสถานการณ์ ผู้ใช้ควรปรับแต่งค่าให้ตรงกับสินทรัพย์และสไตล์การเทรดของตน
สัญญาณอาจทำให้สับสน: การอ่านสัญญาณจากเส้น MACD, เส้น Signal, เส้นศูนย์ และ Histogram พร้อมกัน อาจทำให้มือใหม่สับสนและต้องใช้เวลาฝึกฝน
นักเทรดสามารถใช้ MACD ควบคู่กับเครื่องมืออื่นๆ ได้ เพื่อเพิ่มความแม่นยำ และลดโอกาสเกิดสัญญาณหลอก โดยเฉพาะเมื่อตลาดมีความผันผวนสูง ตัวชี้วัดที่มักนำมาใช้ร่วมกับ MACD ได้แก่ RSI และ Moving Averages
การวิเคราะห์เทรนด์ด้วย MACD และ RSI จะช่วยบอกถึงระดับความแรงของราคาและการเกิดภาวะซื้อมากเกินหรือขายมากเกิน เมื่อใช้ร่วมกับ MACD นักเทรดจะได้เห็นภาพที่ชัดเจนมากขึ้น เพราะ MACD จะช่วยระบุแนวโน้มและโมเมนตัมของตลาด ส่วน RSI จะช่วยยืนยันว่าราคานั้นอยู่ในช่วง “ซื้อมาก” หรือ “ขายมาก”
วิธีใช้ MACD ในการเทรดเช่น หาก MACD ให้สัญญาณซื้อพร้อมกับ RSI ที่ยังไม่ถึงระดับซื้อมากเกินไป (ต่ำกว่า 70) ก็เป็นสัญญาณที่แข็งแรงกว่า หรือถ้า MACD ให้สัญญาณขายและ RSI แสดงว่าราคาซื้อเกิน (สูงกว่า 70) ก็ช่วยยืนยันว่าราคาอาจปรับตัวลง
เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ Moving Averages เป็นเครื่องมือที่ใช้ระบุแนวโน้มราคาในภาพรวม การใช้ MACD ร่วมกับ Moving Averages จะช่วยให้เห็นภาพแนวโน้มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น เมื่อ MACD ให้สัญญาณซื้อและราคาอยู่เหนือเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ ก็เป็นสัญญาณบวกที่ช่วยยืนยันแนวโน้มขาขึ้น หาก MACD ให้สัญญาณขายและราคาต่ำกว่า Moving Average ก็ช่วยยืนยันแนวโน้มขาลง ทำให้เทรดเดอร์มั่นใจในการตัดสินใจมากขึ้น
MACD เป็นอินดิเคเตอร์วิเคราะห์แนวโน้มที่ใช้งานง่าย เหมาะทั้งมือใหม่และมือโปร ช่วยบอกจังหวะซื้อขายได้ดี แต่มีข้อจำกัดในตลาดที่ราคาเคลื่อนไหวแบบไซด์เวย์หรือผันผวนสูง เพื่อความแม่นยำ ควรใช้ MACD ร่วมกับตัวชี้วัดอื่น เช่น RSI หรือ Moving Averages เพื่อยืนยันสัญญาณและลดความเสี่ยง สรุปคือ MACD เป็นเครื่องมือที่ดีและควรใช้ แต่ควรฝึกฝนและเข้าใจวิธีอ่านสัญญาณอย่างละเอียดก่อนนำไปใช้จริงในการเทรด
เปิดบัญชีและเริ่มต้นเลย
ค่าเริ่มต้นที่นิยมใช้ตั้งค่า MACD คือ EMA 12 วัน, EMA 26 วัน และ Signal 9 วัน แต่สามารถปรับให้เหมาะกับสินทรัพย์หรือกรอบเวลาที่เทรดได้
EMA คือเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ที่ให้น้ำหนักราคาล่าสุดมากกว่า ราคาจะตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงเร็วกว่า Moving Average แบบธรรมดา
สำหรับ MACD คือ EMA(12) – EMA(26) การหาเส้นสัญญาณ คือ EMA(9) ของ MACD และการคำนวณ Histogram คือ MACD – เส้นสัญญาณ
Bullish MACD คือสัญญาณบอกแนวโน้มราคาขาขึ้น เช่น เมื่อเส้น MACD ตัดขึ้นเหนือเส้น Signal หรือ Histogram เปลี่ยนเป็นบวก
MACD Divergence คือสัญญาณที่ราคากับ MACD เคลื่อนที่สวนทางกัน บ่งบอกว่าราคาอาจกลับทิศทางเร็วๆ นี้ มีทั้ง Bullish (ราคาลด แต่ MACD ขึ้น) และ Bearish (ราคาขึ้น แต่ MACD ลง)
MACD Oscillator คือกราฟ Histogram ที่แสดงความต่างระหว่าง MACD กับ เส้นสัญญาณ ช่วยบอกโมเมนตัมและความแรงของแนวโน้มราคา
SEO Content Writer
อิสสริยา ดวงเนตร เป็นนักเขียนคอนเท้นต์ SEO ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เชี่ยวชาญด้านการให้ความรู้ เรื่องตลาดเทรด และ การลงทุน เน้นสไตล์การเขียนที่อ่านง่าย เข้าใจง่าย และเนื้อหาความรู้จัดเต็ม พร้อมกับการผสมผสานเทคนิค SEO ที่ช่วยให้ผู้อ่านค้นหาบทความได้ง่าย อย่าลืมติดตามกันนะคะ
เนื้อหาในเอกสารหรือภาพนี้ประกอบด้วยความคิดเห็นและแนวคิดส่วนบุคคล ซึ่งอาจไม่สอดคล้องกับความคิดเห็นของบริษัท ข้อมูลในที่นี้ไม่ควรตีความว่าเป็นคำแนะนำด้านการลงทุนใดๆ และ/หรือการชักชวนให้ทำธุรกรรมใดๆ ไม่มีการแสดงถึงข้อผูกพันในการซื้อบริการการลงทุน และไม่รับประกันหรือคาดการณ์ผลการดำเนินงานในอนาคต บริษัท XS บริษัทในเครือ ตัวแทน กรรมการ เจ้าหน้าที่ หรือพนักงาน ไม่รับประกันห้วงเวลา ความสมบูรณ์หรือความถูกต้องของข้อมูลหรือข้อมูลใดๆที่มีให้ และไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสียใดๆที่เกิดจากการลงทุนตามข้อมูลดังกล่าวแพลตฟอร์มของเราอาจไม่มีผลิตภัณฑ์หรือบริการทั้งหมดที่กล่าวถึง