Facebook Pixel
Logo
หน้าหลัก   Breadcrumb right  บทความ   Breadcrumb right  Blog   Breadcrumb right  Indicator คือ อะไร

แนวโน้มราคา

Indicator คืออะไร? รู้จักประเภทและการใช้งานอินดิเคเตอร์

เขียนโดย Itsariya Doungnet

อัปเดตแล้ว 18 กรกฎาคม 2025

indicator-คือ
สารบัญ

    นักเทรดมือใหม่จำเป็นต้องทำความเข้าใจ Indicator คืออะไร ก่อนที่จะเริ่มการใช้งานเพื่อวิเคราะห์แนวโน้มราคา ซึ่งนี่เรียกได้ว่าเป็นอาวุธที่สำคัญของนักเทรด เพราะสามารถยืนยันแนวโน้มราคา เพื่อความแม่นยำในการเข้าเทรดได้มากขึ้น

    ในบทความนี้เราจะมาเรียนรู้ การวิเคราะห์กราฟ ด้วย Indicator รวมถึงทำความรู้จักประเภท Indicator เพื่อให้คุณเลือกใช้งานได้อย่างเหมาะสม

    สาระสำคัญ

    • Indicator คือ เครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิค ที่แสดงให้เห็นแนวโน้มราคา เพื่อช่วยหาจุดซื้อ-ขายที่แม่นยำมากขึ้น

    • Indicator มีหลายประเภท เช่น ประเภทแนวโน้ม, ประเภทโมเมนตัม, ประเภทความผันผวน และประเภทปริมาณ

    • การใช้งาน Indicator ควรใช้ควบคู่กับกราฟราคาและเครื่องมืออื่น ๆ เพื่อยืนยันสัญญาณและลดความเสี่ยง

    • ไม่มี Indicator ไหนที่มีความแม่นยำ 100% ต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับสไตล์การเทรดและสภาวะตลาด

    ทอลองใช้บัญชีเดโม่โดยไม่มีความเสี่ยง

    ลงทะเบียนบัญชีเดโม่ฟรีและปรับกลยุทธ์การเทรดของคุณ

    เปิดบัญชีโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

    Indicator คืออะไร?

    Indicator คือ เครื่องมือทางเทคนิคที่ใช้วิเคราะห์แนวโน้มราคาในตลาดการเงิน เช่น หุ้น ฟอเร็กซ์ คริปโต หรือสินทรัพย์อื่น ๆ เพื่อหาจุดเข้าซื้อขายที่เหมาะสม Indicator ทำงานจากการคำนวณปริมาณซื้อขาย ช่วงเวลา และ ปริมาณสินทรัพย์ที่เคยเกิดขึ้น เป็นเครื่องมือที่ช่วยยืนยันเทรนด์ตลาด เรามาดูรูปแบบ Indicator การวิเคราะห์ทางเทคนิค ในตลาดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดกัน

     

    Indicators หุ้น คือ?

    Indicator หุ้น คือ อินดิเคเตอร์ที่ใช้เทรดในตลาดหุ้น เพื่อวิเคราะห์ราคาหุ้น และแนวโน้มราคาจากแรงซื้อขายของนักลงทุน หากคุณเข้าใจ indicator พื้นฐาน ก็สามารถช่วยให้คุณเห็นแนวโน้มของตัวหุ้นที่ต้องการลงทุน วางแผนในการลงทุนระยะสั้นและระยะยาวได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

     

    Indicator Forex คือ?

    Indicator Forex คือ อินดิเคเตอร์ที่ใช้วิเคราะห์พฤติกรรมคู่เงินในตลาด Forex ช่วยจับจังหวะการเทรดในตลาดที่มีความผันผวนสูง หรือมีการเคลื่อนไหวราคาที่รวดเร็ว indicator ยอดนิยม ในตลาดการเทรดสกุลเงิน เพราะเป็นตัวช่วยในการยืนยันการวิเคราะห์กราฟแท่งเทียน เพื่อหาจุดเข้าซื้อขายได้แม่นและเพิ่มโอกาสการทำกำไรจากการเทรด Forex ได้มากขึ้น

     

    วิธีการใช้งาน Indicator เริ่มยังไง?

    เรามาดูวิธีการใช้งาน Indicator ให้ได้ผลจริง กันทีละขั้นตอน ที่คุณสามารถปรับให้เข้ากับการใช้งานของแต่ละ Indicator ได้เลย

     

    ขั้นตอนแรก: เลือก Indicator ที่เหมาะกับสไตล์การเทรดของคุณ

    • ต้องการดูแนวโน้มราคา ใช้ Trend Indicators เช่น Moving Average, MACD

    • ต้องการวัดแรงซื้อแรงขาย ใช้ Momentum Indicators เช่น RSI, Stochastic

    • ต้องการดูความผันผวน ใช้ Volatility Indicators เช่น Bollinger Bands

    • ต้องการวิเคราะห์ปริมาณ ใช้ Volume Indicators เช่น OBV

     

    ขั้นตอนที่สอง: ตั้งค่าตัวเลข Indicator ให้เหมาะกับกลยุทธ์การใช้งานของคุณ

    การใช้งาน Indicator จะมีการตั้งค่าต่างๆ อีกมากมาย ที่ให้คุณสามารถใช้งานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

    • ตั้งค่าช่วงเวลาของ Indicator เช่น 14 วัน หรือ 20 วัน ตามสไตล์การเทรดของคุณ

    • ทดลองตั้งค่าต่าง ๆ เพื่อหา “จุดสมดุล” ที่เหมาะกับสินทรัพย์และสภาวะตลาดนั้น ๆ

     

    ขั้นตอนที่สาม: ตั้งค่าตัวเลข Indicator ให้เหมาะกับกลยุทธ์การใช้งานของคุณ

    ควรเลือกใช้ Indicator กับการอ่านกราฟแท่งเทียน ไม่ควรใช้ Indicator อย่างเดียว จำเป็นต้องดูกราฟราคาควบคู่ไปด้วย เช่น แนวรับ-แนวต้าน หรือรูปแบบกราฟแท่งเทียน

    • Indicator คือ เครื่องมือช่วยประกอบการตัดสินใจ ที่จำเป็นต้องประกอบการใช้งานกับเครื่องมืออื่น

    • การรวมข้อมูลจากหลายแหล่งจะช่วยเพิ่มความแม่นยำในการตัดสินใจ

     

    ประเภท Indicator ที่นิยมใช้ มีอะไรบ้าง?

    Indicator มีหลากหลายรูปแบบ เพื่อช่วยให้คุณสามารถวิเคราะห์และตัดสินใจลงทุนได้อย่างแม่นยำ จะแบ่งประเภทออกตามความนิยมดังนี้:

     

    Indicator แนวโน้ม

    เครื่องมือระบุทิศทางและแรงแนวโน้มของราคา เช่น

    Moving-Average

    Moving Average (MA)

    Moving Average (MA)  Indicator คือ ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ที่ช่วยกรองความผันผวนของราคา ทำให้เห็นภาพรวมแนวโน้มอย่างชัดเจน

     

    ตัวอย่างการใช้งาน Moving Average (MA)

    • เมื่อราคา วิ่งอยู่เหนือเส้น MA 50 อย่างต่อเนื่อง แสดงว่าแนวโน้มยังเป็น ขาขึ้น (Up Trend)

    • เมื่อราคา ตัดลงต่ำกว่าเส้น MA 200 และอยู่ต่ำกว่าต่อเนื่อง บ่งชี้ว่าแนวโน้ม ขาลง (Down Trend)

    • เมื่อเส้น MA ระยะสั้น ตัดขึ้นเหนือ MA ระยะยาว เป็นสัญญาณ ซื้อ ขาขึ้น (Up Trend)

    • เมื่อเส้น MA ระยะสั้น ตัดลงต่ำกว่า MA ระยะยาว เป็นสัญญาณ ขาย ขาลง (Down Trend)

    MACD

    MACD (Moving Average Convergence Divergence)

    MACD Indicator คือ เครื่องมือที่ช่วยบ่งชี้การเปลี่ยนแปลงของแนวโน้มและจังหวะซื้อขาย ผ่านการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่สองเส้น

     

    ตัวอย่างการใช้งาน MACD

    • เมื่อเส้น MACD ตัดขึ้นเหนือเส้น Signal เป็นสัญญาณ ซื้อ

    • เมื่อเส้น MACD ตัดลงต่ำกว่าเส้น Signal เป็นสัญญาณ ขาย

    • Histogram อยู่ เหนือ 0 และขยายตัว แนวโน้มขาขึ้น

    • Histogram อยู่ ต่ำกว่า 0 และขยายตัวลง แนวโน้มขาลง

    • Histogram เริ่มหดตัว แปลว่าแรงแนวโน้มขาลง หรือ อาจกลับตัว

     

    Indicator โมเมนตัม

    เครื่องมือช่วยวัดแรงซื้อขายตลาด เช่น

    rsi

    RSI (Relative Strength Index)

    RSI Indicator คือ เครื่องมือบอกสถานะว่าตลาดอยู่ในช่วงซื้อเกิน (overbought) หรือขายเกิน (oversold)

     

    ตัวอย่างการใช้งาน RSI

    • เมื่อ RSI สูงกว่า 70  หมายถึง สถานะซื้อเกิน (Overbought) เป็นสัญญาณ (Down Trend)

    • เมื่อ RSI ต่ำกว่า 30 หมายถึง สถานะขายเกิน (Oversold) เป็นสัญญาณ (Up Trend)

    stochastic-oscillator

    Stochastic Oscillator

    Stochastic Oscillator Indicator คือ เครื่องมือ ระบุจุดกลับตัวของราคา โดยการเปรียบเทียบราคาปิดกับช่วงราคาสูงต่ำในช่วงเวลาที่กำหนด

     

    ตัวอย่างการใช้งาน Stochastic Oscillator

    • เมื่อเส้น %K ตัดขึ้นเหนือเส้น %D ในโซนต่ำกว่า 20 เป็น สัญญาณซื้อ (Up Trend)

    • เมื่อเส้น %K ตัดลงใต้เส้น %D ในโซนสูงกว่า 80 เป็น สัญญาณขาย (Down Trend)

    ADX

    ADX Indicator

    ADX Indicator คือ เครื่องมือ Average Directional Movement Index วัดความแข็งแกร่งของแนวโน้มระหว่างซื้อและขายในแต่ละวัน เพื่อให้เห็นแรงขับเคลื่อนแนวโน้มของตลาดการเงิน

     

    ตัวอย่างการใช้งาน ADX Indicator

    • เมื่อค่า ADX สูงกว่า 25 หมายถึง แนวโน้มแข็งแรง ไม่ว่าจะเป็นขาขึ้นหรือขาลง

    • เมื่อค่า ADX ต่ำกว่า 20 หมายถึง ตลาดไม่มีแนวโน้มชัดเจน หรือ Sideways

     

    Indicator ความผันผวน

    เครื่องมือวัดระดับความผันผวน เช่น

    bollinger-bands

    Bollinger Bands

    Bollinger Bands Indicator คือ เครื่องมือที่แสดงช่วงราคาที่คาดว่าราคาจะเคลื่อนไหว มีเส้นค่าเฉลี่ยและแถบความเบี่ยงเบนมาตรฐาน

     

    ตัวอย่างการใช้งาน Bollinger Bands

    • เมื่อราคา ปิดแตะหรือทะลุเส้นบน เป็นสัญญาณตลาดซื้อเกิน บ่งบอก ขาขึ้น (Up Trend)
    • เมื่อราคา ปิดแตะหรือลงต่ำกว่าเส้นล่าง เป็นสัญญาณตลาดขายเกิน บ่งบอก ขาลง (Down Trend)

     

    ATR

    ATR (Average True Range)

    ATR คือ เครื่องมือ Average True Range ใช้วัดความผันผวนโดยดูช่วงราคาที่แท้จริงในแต่ละช่วงเวลา

     

    ตัวอย่างการใช้งาน ATR

    • หากค่า ATR สูง แสดงว่าราคา มีความผันผวนมาก ควรตั้ง Stop Loss ให้ห่างขึ้น

    • หากค่า ATR ต่ำ แสดงว่าราคา มีความผันผวนต่ำ ควรตั้ง Stop Loss ให้ใกล้ขึ้น

     

    Indicator ปริมาณ

    เครื่องมือวิเคราะห์ปริมาณซื้อขายเพื่อวัดแรงซื้อขายในตลาด

    high-relative-volume

    Volume

    Volume บ่งบอกถึง ปริมาณการซื้อขายโดยตรง ที่แสดงระดับความสนใจของนักลงทุน

     

    ตัวอย่างการใช้งาน Volume

    • เมื่อปริมาณ ซื้อขายเพิ่มขึ้น ราคาขึ้น เป็นสัญญาณ ยืนยันแนวโน้มขาขึ้น (Up Trend)

    • เมื่อปริมาณ ซื้อขายเพิ่มขึ้น แต่ราคาลดลง เป็นสัญญาณ ยืนยันแนวโน้มขาลง (Down Trend)

     

    obv-on-balance-volume

    OBV (On-Balance Volume)

    OBV (On-Balance Volume) บ่งบอกถึง การสะสมปริมาณการซื้อขายตามทิศทางราคาว่าขึ้นหรือลง เพื่อให้เห็นแรงซื้อแรงขายสะสม

     

    ตัวอย่างการใช้งาน OBV

    • OBV เพิ่มขึ้น ราคาขึ้น เป็นสัญญาณ ขาขึ้น (Up Trend)

    • OBV ลดลง ราคาขึ้น เป็นสัญญาณ ขาลง (Down Trend)

     

    ประโยชน์ที่นักลงทุนได้รับจาก Indicator

    การใช้เครื่องมือ Indicator จะช่วยให้คุณเห็นแนวโน้มของราคาได้ชัดเจนมากขึ้น สามารถประเมินสภาวะ Overbought Oversold เพื่อไม่ให้คุณพลาดทำกำไรได้มากขึ้น ช่วยให้คุณหาจุดเข้าออกได้อย่างเหมาะสม ทั้งยังสามารถวัดความผันผวนของตลาด แรงซื้อและแรงขาย ได้อย่างชัดเจน ป้องกันการเข้าตลาดในช่วงนี้ ช่วยลดความเสี่ยงเป็นอย่างดี นอกจากนี้แล้ว Indicator คือ เครื่องมือที่ช่วยยืนยันสัญญาจุดเข้าซื้อขายได้ดี เมื่อใช้ร่วมกับเครื่องมืออื่นๆ ก็ยิ่งสามารถเพิ่มความแม่นยำได้มากขึ้น

     

    ข้อจำกัดและวิธีลดความเสี่ยงการใช้งาน Indicator

    การใช้งาน Indicator ก็มีข้อจำกัดและความเสี่ยงเช่นกัน เพราะฉะนั้นเรามาทำความเข้าใจกันต่อเลย

     

    ข้อจำกัดของ Indicator

    • อาจจะเกิดสัญญาณหลอก เมื่อ Indicator ส่งสัญญาณซื้อหรือขายที่ไม่ถูกต้อง

    • การใช้ Indicator อย่างเดียว ก็อาจทำให้การวิเคราะห์ตลาดคลาดเคลื่อน

    • การวิเคราะห์ข้อมูลไม่ลึกพอ ส่งผลให้ตีความสัญญาณผิดพลาด

     

    วิธีลดความเสี่ยงของ Indicator

    • การใช้ Indicator หลายตัวร่วมกันเพื่อยืนยันสัญญาณการเข้าซื้อขาย

    • ควรวิเคราะห์กราฟราคาและปัจจัยพื้นฐานควบคู่ไปด้วย

    • ควรฝึกฝนการอ่านตลาดและทำความเข้าใจเครื่องมือที่คุณใช้งาน

    • เข้าใจการตั้งจุดตัดขาดทุน (Stop Loss) เพื่อลดความเสี่ยงลงทุน

    • ควรวางแผนบริหารจัดการเงิน ไม่ควรลงทุนเกินความสามารถ

     

    เคล็ดลับการใช้ Indicator ให้ได้ผล

    หากคุณต้องการใช้ Indicator ให้ได้ผลสูงสุด ห้ามพลาดเคล็ดลับที่เราได้เลือกมา เพื่อให้คุณสามารถพัฒนากลยุทธ์การลงทุนที่ประสิทธิภาพมากขึ้น

     

    ควรใช้ Indicator หลากหลายเพื่อยืนยันสัญญาณ

    การใช้ Indicator หลายตัวร่วมกันช่วยลดความเสี่ยงจากสัญญาณหลอกและเพิ่มความแม่นยำ นักเทรดควรควรเลือก Indicator ที่ทำงานในด้านต่าง ๆ เช่น แนวโน้ม โมเมนตัม และปริมาณ เพื่อให้เห็นภาพตลาดอย่างรอบด้าน

     

    ใช้ระยะเวลาหลายระดับ

    การวิเคราะห์ตลาดในหลายระยะเวลาจะช่วยให้เข้าใจแนวโน้มระยะสั้นและระยะยาวได้ดีขึ้น เช่น การดูกรอบเวลา 1 ชั่วโมง ร่วมกับกรอบวัน เพื่อหาจุดเข้าออกที่เหมาะสมและลดความผิดพลาด

     

    ฝึกฝนกลยุทธ์ด้วย Backtesting

    การทดสอบกลยุทธ์กับข้อมูลย้อนหลัง หรือที่ในทางนักเทรดเรียกกันว่า Backtesting ช่วยประเมินประสิทธิภาพของ Indicator และวิธีการตั้งค่าพารามิเตอร์ต่าง ๆ ก่อนนำไปใช้จริงในตลาดจริง

     

    อย่าใช้ Indicator เพียงเพื่อเดาหรือคาดการณ์ล่วงหน้า

    Indicator คือ เครื่องมือช่วยวิเคราะห์ ไม่ควรใช้เพียงอย่างเดียวหรือใช้เพื่อเดาล่วงหน้า ในแบบที่ไม่มีการวิเคราะห์ประกอบ ควรใช้ร่วมกับการอ่านกราฟราคา Price action แนวรับ-แนวต้าน และข่าวสารตลาด

     

    ฝึกฝนและปรับปรุงกลยุทธ์อย่างต่อเนื่อง

    การเรียนรู้และปรับปรุงการใช้ Indicator เป็นสิ่งสำคัญ นักลงทุนควรทดลองและปรับกลยุทธ์ตามผลลัพธ์ที่ได้ รวมถึงติดตามสถานการณ์ตลาดเพื่อให้กลยุทธ์ทันสมัย

     

    สรุป

    Indicator คือ เครื่องมือที่นักเทรดควรใช้ แต่ก็อาจจะไม่ได้เป็นสิ่งจำเป็น เพราะขึ้นอยู่กับกลยุทธ์ของนักเทรดแต่ละคน สำหรับนักเทรดที่ต้องการสัญญาณการยืนยันเพิ่มเติม ก็ควรเลือกใช้เครื่องมือ Indicactor ตามแต่ละประเภทตามสิ่งที่คุณต้องการทราบ ไม่ว่าจะเป็น แนวโน้มราคา, ความผันผวน, แรงซื้อขาย หรืออื่นๆ โดยควรใช้ร่วมกับการอ่านกราฟแท่งเทียนเพื่อความแม่นยำ

    พร้อมสำหรับก้าวต่อไปในการซื้อขายหรือยัง?

    เปิดบัญชีและเริ่มต้นเลย

    รับสิทธิ์เข้าถึงฟรี
    สารบัญ

      คำถามที่พบบ่อย

      Indicator ยอดนิยมมี Moving Average (MA), MACD, RSI, Bollinger Bands, Stochastic, OBV, Volume และ ADX

      Indicator ช่วยบอกสัญญาณซื้อขาย แต่อาจจะไม่สามารถบอกได้แม่นยำ 10% เพราะฉะนั้นแล้ว ควรเลือกใช้รูปแบบการวิเคราะห์อื่นๆ เช่น แนวรับ-แนวต้าน, กราฟราคา และ Stop-Loss

      เราแนะนำให้นักเทรดเลือกใช้ Indicator 2-3 ตัว เช่น Moving Average หรือ MACD หาแนวโน้มราคา, RSI หรือ Stochastic หาโมเมนตัม และ OBV หรือ Bollinger Bands หาปริมาณซื้อขาย

      Indicator คือ เครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิค ที่เราเรียกกันว่า Technical Analysis ส่วนการวิเคราะห์พื้นฐาน คือ ข่าวเศรษฐกิจต่างๆ หรือที่เราเรียกกันว่า Fundamental Analysis

      Indicator ทำหน้าที่ ระบุแนวโน้มราคา, บ่งบอกจุดเข้าออกที่อาจเกิดขึ้น, วัดปริมาณซื้อขาย, ประเมินความผันผวนตลาด และ ช่วยยืนยันสัญญาณการเข้าเทรด

      ไม่มี  Indicator ที่แม่นยำแบบตายตัว เพราะข้อมูลนี้ขึ้นอยู่กับ สภาวะตลาด, สินทรัพย์ที่คุณเลือกเทรด และ สไตล์การเทรดของแต่ละคน

      Itsariya Doungnet

      Itsariya Doungnet

      SEO Content Writer

      อิสสริยา ดวงเนตร เป็นนักเขียนคอนเท้นต์ SEO ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เชี่ยวชาญด้านการให้ความรู้ เรื่องตลาดเทรด และ การลงทุน เน้นสไตล์การเขียนที่อ่านง่าย เข้าใจง่าย และเนื้อหาความรู้จัดเต็ม พร้อมกับการผสมผสานเทคนิค SEO ที่ช่วยให้ผู้อ่านค้นหาบทความได้ง่าย อย่าลืมติดตามกันนะคะ

      เนื้อหาในเอกสารหรือภาพนี้ประกอบด้วยความคิดเห็นและแนวคิดส่วนบุคคล ซึ่งอาจไม่สอดคล้องกับความคิดเห็นของบริษัท ข้อมูลในที่นี้ไม่ควรตีความว่าเป็นคำแนะนำด้านการลงทุนใดๆ และ/หรือการชักชวนให้ทำธุรกรรมใดๆ ไม่มีการแสดงถึงข้อผูกพันในการซื้อบริการการลงทุน และไม่รับประกันหรือคาดการณ์ผลการดำเนินงานในอนาคต บริษัท XS บริษัทในเครือ ตัวแทน กรรมการ เจ้าหน้าที่ หรือพนักงาน ไม่รับประกันห้วงเวลา ความสมบูรณ์หรือความถูกต้องของข้อมูลหรือข้อมูลใดๆที่มีให้ และไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสียใดๆที่เกิดจากการลงทุนตามข้อมูลดังกล่าวแพลตฟอร์มของเราอาจไม่มีผลิตภัณฑ์หรือบริการทั้งหมดที่กล่าวถึง

      scroll top