ตลาด
บัญชี
แพลตฟอร์ม
นักลงทุน
โปรแกรมพันธมิตร
สถาบัน
โปรแกรมความภักดี
เครื่องมือ
เขียนโดย Itsariya Doungnet
อัปเดตแล้ว 19 พฤษภาคม 2025
พันธบัตร เป็นรูปแบบการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ แต่มีผลตอบแทนที่มั่นคง เป็นอีกตัวเลือกที่นักลงทุนมือใหม่และมืออาชีพห้ามพลาด! ในบทความนี้ เราจะอธิบายให้คุณเข้าใจแบบง่ายๆ ภายใน 5 นาที อ่านจบพร้อมลงทุนได้เลย ตอบคำถามทุกรูปแบบการลงทุนเกี่ยวกับ พันธบัตร ทั้งของรัฐบาลและเอกชน
พันธบัตร คือ เครื่องมือการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ เหมาะสำหรับ ผู้ที่ต้องการรายได้สม่ำเสมอและ รักษาเงินต้น เช่น ผู้เกษียณ หรือผู้เริ่มต้นลงทุน
พันธบัตร มีหลายประเภท เช่น พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรองค์กร และพันธบัตรต่างประเทศ ซึ่งแต่ละประเภทมีระดับความเสี่ยง และผลตอบแทนแตกต่างกัน
รายได้จากพันธบัตร มาจากดอกเบี้ย และผลตอบแทนจากราคาซื้อขาย ซึ่งพันธบัตรรัฐบาลให้ผลตอบแทนต่ำ แต่มั่นคง ส่วนพันธบัตรเอกชน ให้ผลตอบแทนสูง แต่เสี่ยงมากขึ้น
การลงทุนในพันธบัตร เหมาะกับผู้ที่ต้องการกระจายความเสี่ยง และวางแผนระยะยาว
ลงทะเบียนบัญชีเดโม่ฟรีและปรับกลยุทธ์การเทรดของคุณ
ความหมายของพันธบัตร คือ ตราสารหนี้ประเภทหนึ่ง ซึ่งอาจจะเป็นของรัฐบาลหรือเอกชน เพื่อระดมทุนจากประชาชนหรือผู้ลงทุน โดยผู้ลงทุนที่ซื้อพันธบัตรจะได้รับสิทธิ์ในการรับดอกเบี้ยตามอัตราที่กำหนดเป็นระยะ เช่น อาจะจ่าดอกเบี้ย ปีละ 1 ครั้ง หรือทุก 6 เดือน จากนั้นคุณจะได้รับเงินต้นคืนเมื่อครบกำหนดอายุของพันธบัตร
พันธบัตร ทำหน้าที่เหมือนกับ การที่ผู้ลงทุนให้ยืมเงินแก่ผู้ออกพันธบัตร ไม่ว่าจะเป็น พันธบัตรรัฐบาล หรือ พันธบัตรเอกชน ขณะที่ผู้ออกพันธบัตรมีหน้าที่จ่ายดอกเบี้ยและคืนเงินต้นตามเงื่อนไขที่ตกลงกันในสัญญาณ ซึ่งช่วยให้ผู้ลงทุนได้รับผลตอบแทนที่แน่นอน เนื่องจากส่วนใหญ่พันธบัตรมีความเสี่ยงต่ำเมื่อเทียบกันการลงทุนหุ้น สามารถกระจายความเสี่ยงในพอร์ตลงทุนได้ดี
พันธบัตร มีหลากหลายรูปแบบ แต่ละประเภทมีระยะเวลา การลงทุนในพันธบัตร ความเสี่ยง และผลตอบแทนที่แตกต่างกันออกไป ตามนี้:
พันธบัตรที่ออกโดยรัฐบาลกลาง เพื่อระดมทุนสำหรับโครงการพัฒนาประเทศหรือบริหารจัดการงบประมาณ มีความน่าเชื่อถือสูง ความเสี่ยงต่ำ เหมาะสำหรับนักลงทุน ที่ต้องการผลตอบแทนที่มั่นคง
ตัวอย่างประเภทของพันธบัตรรัฐบาล:
พันธบัตรออมทรัพย์: สำหรับประชาชนทั่วไป
ตั๋วเงินคลัง (Treasury Bills): อายุไม่เกิน 1 ปี
พันธบัตรระยะกลาง/ยาว: อายุ 1 ปีขึ้นไป
พันธบัตรอัตราดอกเบี้ยคงที่: ดอกเบี้ยคงที่ตลอดอายุ
พันธบัตรอัตราดอกเบี้ยลอยตัว: ดอกเบี้ยปรับตามตลาด
พันธบัตรชดเชยเงินเฟ้อ: ดอกเบี้ยปรับตามอัตราเงินเฟ้อ
พันธบัตรเพื่อการลงทุนเฉพาะ: เช่น ด้านการศึกษา พลังงาน ฯลฯ
พันธบัตรที่ออกโดยบริษัทเอกชน เพื่อระดมทุนในการดำเนินธุรกิจหรือขยายกิจการ มีความเสี่ยงสูงกว่าพันธบัตรรัฐบาล แต่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า
ตัวอย่างประเภทของพันธบัตรองค์กร:
หุ้นกู้มีหลักประกัน
หุ้นกู้ไม่มีหลักประกัน
หุ้นกู้ด้อยสิทธิ์
หุ้นกู้แปลงสภาพ
หุ้นกู้ไม่มีวันครบกำหนด
พันธบัตรที่ออกโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น เทศบาล หรือหน่วยงานของรัฐในระดับย่อย เพื่อนำไปใช้ในโครงการสาธารณะในพื้นที่
แบ่งออกเป็น:
พันธบัตรทั่วไป (General Obligation Bonds): ค้ำประกันด้วยรายได้จากภาษี
พันธบัตรโครงการ (Revenue Bonds): ชำระคืนจากรายได้ของโครงการ เช่น ค่าทางด่วน น้ำประปา
พันธบัตรออกโดยรัฐบาลหรือบริษัทต่างประเทศ เหมาะสำหรับนักลงทุนที่ต้องการกระจายการลงทุนไปยังต่างประเทศ มีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนและกฎระเบียบระหว่างประเทศ
ยกตัวอย่าง:
Foreign Bonds: พันธบัตรที่ออกในประเทศหนึ่งแต่โดยผู้ออกต่างชาติ เช่น Yankee Bonds (ในสหรัฐ), Samurai Bonds (ในญี่ปุ่น)
Eurobonds: พันธบัตรที่ออกนอกประเทศและใช้สกุลเงินที่แตกต่างจากประเทศผู้ออก เช่น ออกพันธบัตรสกุลยูโรในตลาดลอนดอน
ความเสี่ยงด้านเครดิต: พบได้บ่อยในพันธบัตรองค์กรที่มีเครดิตต่ำ ความเสี่ยงที่ผู้ออกพันธบัตรไม่สามารถชำระดอกเบี้ยหรือคืนเงินต้นได้ตามกำหนด
ความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ย: กระทบกับพันธบัตรระยะยาวมากที่สุด เมื่ออัตราดอกเบี้ยในตลาดเพิ่มขึ้น ราคาพันธบัตรที่ถืออยู่จะลดลง ทำให้นักลงทุนที่ต้องการขายก่อนครบกำหนดอาจขาดทุน
ความเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้อ: หากอัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น รายได้จากดอกเบี้ยอาจมีมูลค่าซื้อของน้อยลง ตามค่าของสกุลเงิน
ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง: พันธบัตรบางประเภทอาจไม่สามารถขายในตลาดรองได้ง่าย หรืออาจต้องขายในราคาต่ำกว่ามูลค่า มักจะพบได้ในพันธบัตรองค์กรขนาดเล็ก ที่ไม่มีการซื้อขายบ่อย
ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน: หากลงทุนในพันธบัตรต่างประเทศ ก็อาจจะต้องเจอกับความเสี่ยงของการเปลี่ยนแปลงค่าเงิน
ความเสี่ยงจากการถูกไถ่ถอนก่อนกำหนด: พันธบัตรบางประเภท อาจถูกผู้ออกไถ่ถอนคืนก่อนครบกำหนด หากดอกเบี้ยตลาดลดลง
พันธบัตร โดยเฉพาะพันธบัตรรัฐบาล มีความเสี่ยงต่ำกว่าการลงทุนในหุ้น เนื่องจากมีการรับประกันการจ่ายดอกเบี้ยและคืนเงินต้นเมื่อครบกำหนด
ผู้ถือพันธบัตรจะได้รับดอกเบี้ยเป็นประจำ (เช่น ทุก 6 เดือน หรือปีละครั้ง) ซึ่งช่วยสร้างกระแสเงินสดสม่ำเสมอ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการรายได้ระยะยาว เช่น ผู้เกษียณ
สามารถคาดการณ์ผลตอบแทนได้ เพราะมีอัตราดอกเบี้ยคงที่ (Fixed Rate Bonds) ผู้ลงทุนสามารถคำนวณผลตอบแทนที่แน่นอนได้ตั้งแต่เริ่มลงทุน
พันธบัตรช่วยกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุน เพราะมักจะเคลื่อนไหวสวนทางกับหุ้น เมื่อตลาดหุ้นผันผวน พันธบัตรอาจยังให้ผลตอบแทนที่มั่นคง
มีตัวเลือกพันธบัตรที่หลากหลาย เพื่อให้เหมาะกับเป้าหมายและสภาพตลาด
สิทธิในการได้รับชำระหนี้ก่อนผู้ถือหุ้น กรณีที่บริษัทหรือผู้ออกพันธบัตรประสบปัญหาทางการเงิน
พันธบัตรที่จดทะเบียนในตลาดรองสามารถซื้อขายได้ มีสภาพคล่อง ทำให้ผู้ลงทุนสามารถขายออกได้ก่อนครบกำหนดหากต้องการเงินสด
รายได้พันธบัตร มี 2 รูปแบบหลัก คือ “ดอกเบี้ย” และ “ผลตอบแทนรวม” หากคุณสงสัยว่าการลงทุนแต่ละแบบจะคิดราคายังไง พันธบัตรให้ผลตอบแทนเท่าไหร่ เราตามมาดูกันเลย!
พันธบัตรส่วนใหญ่จะให้ผลตอบแทนในรูปแบบ “ดอกเบี้ย” ที่ผู้ถือจะได้รับเป็นงวด ๆ ตามระยะเวลาที่กำหนด พันธบัตรระยะสั้น ระยะยาว เช่น ทุก 3 เดือน หรือทุก 6 เดือน
อัตราดอกเบี้ยคงที่ คือ ดอกเบี้ยที่ผู้ลงทุนจะได้รับเท่าเดิมทุกงวดตลอดอายุพันธบัตร
อัตราดอกเบี้ยลอยตัว คือ ดอกเบี้ยจะเปลี่ยนแปลงไปตามอัตราตลาด เช่น อิงตามอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงของธนาคารกลาง
พันธบัตรชดเชยเงินเฟ้อ คือ ดอกเบี้ยจะปรับเพิ่มตามอัตราเงินเฟ้อ เพื่อรักษามูลค่าที่แท้จริงของเงินลงทุน
ตัวอย่าง: หากคุณลงทุนพันธบัตรมูลค่า 100,000 บาท ที่มี อัตราดอกเบี้ยพันธบัตร 2.5% ต่อปี จะได้รับดอกเบี้ย 2,500 บาทต่อปี
หากนักลงทุนถือ พันธบัตร ไว้จนถึงวันครบกำหนด จะได้รับเงินต้นคืนเต็มจำนวน พร้อมดอกเบี้ยที่สะสมมาตลอดอายุพันธบัตร ผลตอบแทนในกรณีนี้เรียกว่า "อัตราผลตอบแทนถึงวันครบกำหนด" ซึ่งคำนวณจากราคาซื้อ ดอกเบี้ยสะสม และเวลาที่ถือพันธบัตร
พันธบัตรสามารถซื้อขายใน “ตลาดรอง” ได้ หากราคาพันธบัตรในตลาดเปลี่ยนแปลง นักลงทุนอาจได้กำไรหรือขาดทุนจากส่วนต่างราคาซื้อ-ขาย
ขายได้ราคาสูงกว่าราคาที่ซื้อ: ได้กำไรจากส่วนต่าง (Capital Gain)
ขายได้ราคาต่ำกว่า: ขาดทุน (Capital Loss)
ราคาพันธบัตรในตลาดขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น อัตราดอกเบี้ยในระบบเศรษฐกิจ ภาวะเงินเฟ้อ และเครดิตของผู้ออกพันธบัตร
คุณสามารถเลือกช่องทางการซื้อพันธบัตรได้ตามที่คุณต้องการตามนี้ได้เลย:
ซื้อผ่านช่องทางออนไลน์ของ ตลาดพันธบัตร ที่เกี่ยวข้อง
ซื้อผ่านธนาคารตัวแทนจำหน่าย
การลงทุนพันธบัตรเหมาะกับผู้ที่ต้องการลงทุนทุกรูปแบบ แต่อาจจะไม่ใช้ทางเลือกสำหรับผู้ที่ต้องการผลตอบแทนสูงสุดในระยะสั้น พันธบัตรเหมาะกับนักลงทุนแบบไหน ? การลงทุนประเภทพันธบัตร จะเหมาะกับผู้ที่ต้องการ ความมั่นคง ความเสี่ยงต่ำ และต้องการ รายได้จากดอกเบี้ยพันธบัตร ที่แน่นอน ดู วิธีเลือกพันธบัตรที่เหมาะสม ข้างล่างนี้ต่อเลย
ประเภทพันธบัตร
เหมาะกับใคร
ความเสี่ยง
ผลตอบแทนโดยประมาณ
พันธบัตรรัฐบาล
ผู้เริ่มต้น หรือ ผู้ต้องการความมั่นคง
ต่ำมาก
สูงสุด 2.5%
พันธบัตรออมทรัพย์
ประชาชนทั่วไป หรือ ต้องการเก็บออมระยะยาว
ต่ำ
สูงสุด 3%
พันธบัตรเอกชน
ผู้ที่ต้องการผลตอบแทนสูงกว่า และ รับความเสี่ยงได้
ปานกลาง ถึง สูง
สูงสุด 6%
พันธบัตรต่างประเทศ
นักลงทุนที่อยากกระจายพอร์ตไปต่างประเทศ
ความแตกต่างระหว่าง พันธบัตร กับ หุ้น คือ สิ่งสำคัญที่นักลงทุนควรทำความเข้าใจ เพราะนี่เป็นหัวข้อที่นักลงทุนมือใหม่สับสน เราตามมาดูความแตกต่างกันเลย
พันธบัตร (Bonds): เป็นตราสารหนี้ที่ออกโดยรัฐบาลหรือบริษัทเอกชน ผู้ที่ซื้อพันธบัตรจะกลายเป็นเจ้าหนี้ของผู้ที่ออกพันธบัตร ซึ่งจะได้รับดอกเบี้ยตามอัตราที่กำหนด และจะได้รับเงินต้นคืนเมื่อครบกำหนด
หุ้น (Stocks): เป็นสิทธิ์ในการเป็นส่วนหนึ่งของในบริษัท ผู้ที่ซื้อหุ้นจะกลายเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทนั้น ๆ มีสิทธิ์ในการรับผลประโยชน์จากกำไรของบริษัท (dividends) และสิทธิ์ในการออกเสียงในการประชุมผู้ถือหุ้น
พันธบัตร (Bonds): ผลตอบแทนหลักจากการลงทุนในพันธบัตรคือ ดอกเบี้ย ที่จะจ่ายให้ผู้ถือพันธบัตรเป็นระยะเวลา (ตามอัตราดอกเบี้ยที่กำหนด) และเงินต้นจะถูกคืนเมื่อพันธบัตรครบกำหนด
หุ้น (Stocks): ผลตอบแทนจากการลงทุนในหุ้นมาจาก การเพิ่มขึ้นของราคาหุ้น (Capital Gains) และ เงินปันผล (Dividends) หากบริษัทมีผลประกอบการดีและจ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้น
พันธบัตร (Bonds): มีความเสี่ยงต่ำกว่า เนื่องจากผู้ลงทุนได้รับดอกเบี้ยตามที่ตกลงและจะได้รับเงินต้นคืนเมื่อครบกำหนด หากผู้ที่ออกพันธบัตรสามารถชำระหนี้ได้
หุ้น (Stocks): ความเสี่ยงสูงกว่า เนื่องจากราคาหุ้นอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามผลประกอบการของบริษัทและสภาวะตลาด นักลงทุนอาจไม่ได้รับเงินปันผล และราคาหุ้นอาจตกต่ำลงได้
พันธบัตร (Bonds): ผู้ถือพันธบัตรไม่สามารถมีสิทธิ์ในการออกเสียงหรือมีสิทธิในการตัดสินใจเกี่ยวกับการดำเนินงานของบริษัท
หุ้น (Stocks): ผู้ถือหุ้นมีสิทธิ์ในการออกเสียงในการประชุมผู้ถือหุ้น และสามารถมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายการบริหารของบริษัท
พันธบัตร (Bonds): มีระยะเวลาในการลงทุนที่แน่นอน เมื่อครบกำหนดแล้ว ผู้ลงทุนจะได้รับเงินต้นคืน
หุ้น (Stocks): ไม่มีระยะเวลาในการลงทุนที่กำหนด นักลงทุนสามารถถือหุ้นได้ตลอดไปจนกว่าจะตัดสินใจขายออก
พันธบัตร (Bonds): หากบริษัทหรือรัฐบาลล้มละลาย ผู้ถือพันธบัตรจะได้รับการชำระหนี้ก่อนผู้ถือหุ้น
หุ้น (Stocks): ผู้ถือหุ้นจะได้รับการชำระหนี้หลังจากที่ผู้ถือพันธบัตรได้รับการชำระหนี้แล้ว
พันธบัตร เป็นทางเลือกการลงทุนที่เหมาะกับผู้ที่ต้องการความมั่นคง ความเสี่ยงในการถือพันธบัตรต่ำ และต้องการรายได้ที่สม่ำเสมอ แม้ว่าผลตอบแทนอาจจะไม่สูงเท่าหุ้น คริปโต หรือ สินทรัพย์ ที่มีความเสี่ยงอื่นๆ แต่ก็สามารถช่วยเก็บรักษาเงินต้นได้ดี และยังช่วยกระจายความเสี่ยงในพอร์ตได้ดีด้วยเช่นกัน พันธบัตรเหมาะกับทุกคนที่ต้องการเห็นการเติบโตของเงินฝากตัวเอง และสามารถยอมรับกับความผันผวนตัวเองได้
เปิดบัญชีและเริ่มต้นเลย
พันธบัตรยังคงเป็นการลงทุนที่ดี 2568 สำหรับผู้ที่ต้องการความมั่นคงและผลตอบแทนสม่ำเสมอในระยะยาว แต่ผลตอบแทนอาจไม่สูงเท่ากับการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงอื่น ๆ เช่น หุ้นหรือกองทุนรวม ที่สามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่า แต่มีความเสี่ยงมากกว่า
ใช่ค่ะ ดอกเบี้ยจากพันธบัตรรัฐบาลและพันธบัตรเอกชนในไทยจะมีการหักภาษี 15% ณ ที่จ่าย ซึ่งกำไรจากการขายพันธบัตร หากมีการขายก่อนครบกำหนด ก็อาจต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามอัตราที่กำหนด
พันธบัตรคือการกู้เงินจากรัฐบาลหรือบริษัท ซึ่งผู้ลงทุนจะได้รับดอกเบี้ยและเงินต้นคืนเมื่อครบกำหนด หลัก ๆ มี 4 ประเภทหลัก เช่น พันธบัตรรัฐบาล, พันธบัตรองค์กร, พันธบัตรเทศบาล และ พันธบัตรต่างประเทศ
พันธบัตรรัฐบาลออกเพื่อ ระดมทุนสำหรับโครงการของรัฐบาล เช่น โครงการพัฒนาประเทศ หรือใช้ในการบริหารจัดการงบประมาณของรัฐ เพื่อให้เกิดความมั่นคงในการเงินของรัฐ
พันธบัตร รัฐบาล คือ การลงทุนที่รัฐบาลกู้เงินจากประชาชนหรือนักลงทุน โดยผู้ลงทุนจะได้รับดอกเบี้ยตามอัตราที่กำหนด และได้รับเงินต้นคืนเมื่อครบกำหนด
"หุ้นพันธบัตร" หรือ หุ้นกู้แปลงสภาพ คือ พันธบัตร ที่มีคุณสมบัติพิเศษคือ สามารถแปลงเป็นหุ้นของบริษัทได้ ในบางช่วงเวลา หรือเมื่อถึงเงื่อนไขที่กำหนด ผู้ลงทุนสามารถ ได้รับผลตอบแทนจากดอกเบี้ย และสิทธิในการถือหุ้นในอนาคต
SEO Content Writer
อิสสริยา ดวงเนตร เป็นนักเขียนคอนเท้นต์ SEO ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เชี่ยวชาญด้านการให้ความรู้ เรื่องตลาดเทรด และ การลงทุน เน้นสไตล์การเขียนที่อ่านง่าย เข้าใจง่าย และเนื้อหาความรู้จัดเต็ม พร้อมกับการผสมผสานเทคนิค SEO ที่ช่วยให้ผู้อ่านค้นหาบทความได้ง่าย อย่าลืมติดตามกันนะคะ
เนื้อหาในเอกสารหรือภาพนี้ประกอบด้วยความคิดเห็นและแนวคิดส่วนบุคคล ซึ่งอาจไม่สอดคล้องกับความคิดเห็นของบริษัท ข้อมูลในที่นี้ไม่ควรตีความว่าเป็นคำแนะนำด้านการลงทุนใดๆ และ/หรือการชักชวนให้ทำธุรกรรมใดๆ ไม่มีการแสดงถึงข้อผูกพันในการซื้อบริการการลงทุน และไม่รับประกันหรือคาดการณ์ผลการดำเนินงานในอนาคต บริษัท XS บริษัทในเครือ ตัวแทน กรรมการ เจ้าหน้าที่ หรือพนักงาน ไม่รับประกันห้วงเวลา ความสมบูรณ์หรือความถูกต้องของข้อมูลหรือข้อมูลใดๆที่มีให้ และไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสียใดๆที่เกิดจากการลงทุนตามข้อมูลดังกล่าวแพลตฟอร์มของเราอาจไม่มีผลิตภัณฑ์หรือบริการทั้งหมดที่กล่าวถึง