ตลาด
บัญชี
แพลตฟอร์ม
นักลงทุน
โปรแกรมพันธมิตร
สถาบัน
โปรแกรมความภักดี
เครื่องมือ
เขียนโดย Itsariya Doungnet
อัปเดตแล้ว 21 พฤษภาคม 2025
อนุพันธ์ คือ เครื่องมือทางการเงินที่จะช่วยลดความเสี่ยง และเพิ่มผลตอบแทน ช่วยให้พอร์ตการลงทุนของคุณเติบโตและมีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งนี่ก็เป็น ความหมายของอนุพันธ์ทางการเงิน เหมาะสำหรับเทรดเดอร์ที่ต้องการกระจายความเสี่ยงในพอร์ตลงทุน เราได้รวบรวมสิ่งที่คุณจำเป็นต้องรู้ทั้งหมดมาไว้แล้วในบทความนี้ เราไปอ่านรายละเอียด วิธีเข้าใจอนุพันธ์แบบง่าย กันต่อได้เลย
อนุพันธ์ คือ เครื่องมือทางการเงิน ที่อิงจากสินทรัพย์ที่คุณมีอยู่แล้ว เช่น หุ้น ทองคำ หรือดัชนี อื่นๆ
ประโยชน์ของอนุพันธ์ คือ ช่วยกระจายความเสี่ยง หรือเก็งกำไรจากความผันผวนของตลาดได้ดี
ประเภทของอนุพันธ์ ได้แก่ สัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Futures), สัญญาสิทธิ (Options) และ สัญญา CFD
นักลงทุนอนุพันธ์ จำเป็นจะต้องมีความเข้าใจการวิเคราะห์ทางเทคนิคและปัจจัยพื้นฐานอย่างละเอียด เพราะตลาดผันผวนสูง
ลงทะเบียนบัญชีเดโม่ฟรีและปรับกลยุทธ์การเทรดของคุณ
อนุพันธ์การเงิน คือ สัญญาทางการเงินที่เปิดให้ซื้อขายล่วงหน้า รวมถึงสิทธิด้วย ซึ่งสัญญาเหล่านี้ไม่ได้มีการส่งมอบสินค้าจริง แต่จะซื้อขายผลต่างของราคาในอนาคต อนุพันธ์ไม่ใช่สินทรัพย์ลงทุน หรือ Asset Class แต่จะเป็นเครื่องมือที่ไปอิงกับสินทรัพย์ลงทุนที่คุณมีอยู่แล้ว
การซื้อขายอนุพันธ์ในประเทศไทย ก็เปิดทำการมาแล้ว ตั้งแต่ ปี 2549 เริ่มจาก SET50 Index Futures ที่เป็นสัญญาซื้อขายล่างหน้าที่อิงกับ SET50 ก็เป็นอีกช่องทางในการล็อกราคาไว้ ตลาดอนุพันธ์มีการเติบโตประมาณ 31% ต่อปี ปริมาณการซื้อขาย Futures จากปีที่เปิดตัวมาถึงตอนนี้ คิดเป็นสัดส่วน อนุพันธ์ในตลาดหุ้น ประมาณเกือบ 20% สะท้อนให้เห็นว่า ตลาดอนุพันธ์ เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ
ประเภทของอนุพันธ์ ของเพลตฟอร์ม XS มีมากมาย เช่น อนุพันธ์ฟิวเจอร์ส และออปชัน รวมถึง CFD เพื่อป้องกันความเสี่ยง และการเทรดที่แม่นยำมากขึ้น ได้แก่:
สัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือ Futures คือ สัญญาที่ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายตกลงกันไว้ เป็นสัญญาทางการที่มีการตกลงมอบและชำระเงินให้ในอนาคต ซึ่งคุณสามารถซื้อขายเปลี่ยนมือกันได้ใน อนุพันธ์ในตลาด TFEX ที่เป็นหน่วยงานดูแลรูปแบบสัญญา การทำตามสัญญาและลดความเสี่ยงจะมีการเรียกเก็บประกันจากคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย
Futures ช่วยให้นักเทรดหุ้น หรือสินทรัพย์อื่นๆ สามารถเปิด ซื้อ และ ขาย ได้ด้วยการใช้เลเวอเรจ ได้ ซึ่งนี่จะช่วยให้คุณเข้าเทรดได้ด้วยเงินทุนที่น้อย แต่สามารถควบคุมมูลค่าสัญญาได้ ประเภทสัญญาซื้อขายล่วงหน้า เหมาะกับผู้ที่เข้าใจการบริหารความเสี่ยงได้ดี
สมมุติว่า คุณคิดว่าราคาทองคำจะขึ้นในอีก 2 เดือนข้างหน้า คุณจึงซื้อ สัญญา Futures ทองคำ ที่ล็อกราคาซื้อไว้ล่วงหน้า หากราคาทองขึ้นตามราคาที่คุณคาดหวังไว้ คุณก็สามารถขายสัญญานี้ในราคาที่สูงขึ้นและทำกำไรได้ แต่หากราคาทองลดลง คุณจะขาดทุนจากส่วนต่างของราคา
ประเภทอนุพันธ์ สัญญาสิทธิ หรือ Options คือ เครื่องมือทางการเงิน ที่ให้สิทธิแก่ผู้ซื้อในการซื้อหรือขายสินทรัพย์ที่อ้างอิงในราคาที่กำหนดไว้ล่วงหน้า แต่ผู้ซื้อไม่จำเป็นต้องใช้สิทธิในกรณี ที่ราคาไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง
สัญญาสิทธิ มีสองประเภทหลัก คือ Call Option (สิทธิในการซื้อ) และ Put Option (สิทธิในการขาย) ตามต้องการ เหมาะกับนักเทรดที่ต้องการความคุ้มครอง หรือ ใช้กลยุทธ์ซับซ้อน เช่น รูปแบบ Covered Call หรือ Straddle เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารพอร์ตลงทุน
สมมุติว่า คุณซื้อ Call Option หุ้น A ในราคา 50 บาท และจ่ายค่าเบี้ยประกัน (Premium) 2 บาท ถ้าในวันหมดอายุ ราคาหุ้น A ขึ้นเป็น 60 บาท คุณใช้สิทธิซื้อในราคา 50 บาท แล้วขายในราคา 60 กำไรคือ 10 - 2 = 8 บาท แต่หากราคาหุ้นไม่ขึ้นเกิน 50 บาท คุณก็จะไม่ใช้สิทธิ และขาดทุนแค่ค่า Premium 2 บาท
สัญญา CFD เป็น อนุพันธ์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ที่ให้นักลงทุนตกลงซื้อขาย ผลต่างของราคาสินทรัพย์ ระหว่างจุดที่เปิดและปิดสัญญา ไม่ต้องถือครองสินทรัพย์จริง นักลงทุนที่ซื้อขาย CFD จะได้รับผลตอบแทนจากความแตกต่างของราคาสินทรัพย์ในช่วงเวลาต่าง ๆ ไม่ต้องทำการส่งมอบสินทรัพย์จริง
สัญญาอนุพันธ์นี้เป็นเพียงเครื่องมือในการเก็งกำไรของสินทรัพย์เท่านั้น CFD ยังใช้ เลเวอเรจ (Leverage) ได้ หมายความว่า คุณสามารถลงทุนได้แม้ว่าจะมีเงินทุนน้อยก็ตาม เหมาะกับการเข้าเทรด ตลาดอนุพันธ์ ที่ผันผวน หรือไม่เป็นเทรนด์ขาขึ้นอย่างเดียว
หากคุณเปิดสถานะ การลงทุนในอนุพันธ์ โดยซื้อ CFD หุ้น B ที่ราคา 100 บาท ใช้เลเวอเรจ 1:10 หากราคาหุ้น B ขึ้นเป็น 105 บาท คุณปิดสถานะและได้กำไรจากส่วนต่าง 5 บาทต่อหุ้น แต่หากราคาหุ้น B ลงเป็น 95 บาท คุณจะขาดทุน 5 บาทต่อหุ้นเช่นกัน ซึ่งนี่เป็นเพียงแค่การ เก็งกำไรด้วยอนุพันธ์ จากส่วนต่างของราคาเท่านั้น ไม่ได้ถือหุ้นจริงๆ
“อนุพันธ์” และ “ตราสารอนุพันธ์” ฟังดูแล้วก็ดูมีความคล้ายกัน แต่มีความหมายและขอบเขตที่ต่างกันพอสมควร เราจะมาอธิบายความแตกต่างระหว่าง “หุ้นกู้อนุพันธ์”, “อนุพันธ์” และ “ตราสารอนุพันธ์” ตามข้อมูลด้านล่างนี้:
ตราสารอนุพันธ์ คือ ตราสารที่มูลค่าขึ้นอยู่กับมูลค่าของสินทรัพย์ที่อ้างอิงถึง (Underlying Asset) เช่น หุ้น, ดัชนี, อัตราแลกเปลี่ยน, อัตราดอกเบี้ย, ฯลฯ ซึ่งจะเหมาะกับ การป้องกันความเสี่ยง, เก็งกำไร, หรือ การจัดการพอร์ตลงทุน
Futures (สัญญาซื้อขายล่วงหน้า)
Options (สิทธิในการซื้อหรือขาย)
Swaps (สัญญาแลกเปลี่ยนอัตราเงินหรือดอกเบี้ย)
Forward contracts
อนุพันธ์ คือ คำกว้างๆ ที่หมายถึง เครื่องมือทางการเงินทุกประเภทที่ "มีมูลค่าอิงจากสินทรัพย์อื่น" ดังนั้น “ตราสารอนุพันธ์” คือประเภทหนึ่งของ “อนุพันธ์”
อนุพันธ์ คือ หมวดหมู่ใหญ่
ตราสารอนุพันธ์ คือ สิ่งที่จับต้องหรือซื้อขายได้จริงในตลาด
หุ้นกู้อนุพันธ์ เป็น "หุ้นกู้" (ตราสารหนี้) ที่ "ผูกกับอนุพันธ์" เช่น ดอกเบี้ยจ่ายขึ้นอยู่กับราคาหุ้นหรือราคาทองคำ ให้ผลตอบแทนสูงกว่าหุ้นกู้ปกติ แต่จะมีความเสี่ยงจากสินทรัพย์อ้างอิง (เช่น ดัชนี, หุ้น, ฯลฯ)
หุ้นกู้ที่ดอกเบี้ยขึ้นอยู่กับ SET50
หุ้นกู้ที่ให้ผลตอบแทนเพิ่มหากน้ำมันขึ้นเกินระดับหนึ่ง
ประโยชน์อนุพันธ์ มีมากมาย ครอบคลุมไปทั้ง ผู้ลงทุนรายย่อย นักลงทุนสถาบัน และภาคธุรกิจที่มีความเกี่ยวข้องกับสินทรัพย์หรือราคาตลาด ซึ่งประโยชน์หลักของอนุพันธ์ สามารถแบ่งออกได้เป็นหลายด้าน ดังนี้:
จุดประสงค์หลักของ อนุพันธ์ คือ การใช้เพื่อลดหรือควบคุมความเสี่ยงจากราคาที่มีความผันผวน ไม่ว่าจะเป็นราคาหุ้น สินค้าโภคภัณฑ์ อัตราแลกเปลี่ยน ดอกเบี้ย หรือสินทรัพย์อื่น ๆ ซึ่งผู้ใช้งานสามารถกำหนดราคาซื้อขายไว้ล่วงหน้า ช่วยลดผลกระทบจากเหตุการที่ไม่คาดคิด เช่น เศรษฐกิจผันผวน หรือ ภาวะเงินเฟ้อ
นักเทรดสามารถใช้ อนุพันธ์ เพื่อคาดการณ์ทิศทางราคา และทำกำไรจากการเคลื่อนไหวของราคาทั้งขาขึ้นและขาลง ซึ่งต่างจากการลงทุนแบบทั่วไป ที่มักทำกำไรได้เฉพาะ เมื่อราคาสินทรัพย์ปรับตัวขึ้น ตราสารอนุพันธ์เปิดโอกาสให้ทำกำไรได้ ในทุกสภาวะตลาด หากวิเคราะห์ถูกทิศทาง
ประเภทของอนุพันธ์ มีหลายประเภท เช่น Futures, Option และ CFD มีคุณสมบัติที่เรียกว่า “เลเวอเรจ” ซึ่งทำให้ผู้ลงทุนสามารถควบคุมมูลค่าสินทรัพย์จำนวนมากได้ ด้วยเงินลงทุนเพียงบางส่วน (วางมาร์จิ้น) ช่วยเพิ่มผลตอบแทนต่อเงินลงทุน แต่ในขณะเดียวกันก็เพิ่มความเสี่ยงด้วย
อนุพันธ์ เปิดโอกาสให้นักลงทุนสามารถวางกลยุทธ์ที่ซับซ้อนและยืดหยุ่นได้ เช่น การป้องกันขาดทุนบางส่วน การทำกำไรจากตลาดนิ่ง หรือการผสมผสานระหว่างสินทรัพย์หลายตัว เพื่อลดความเสี่ยงเฉพาะจุด ตอบโจทย์ทั้ง นักลงทุนมือใหม่กับอนุพันธ์ ที่ต้องการการทำกำไรที่มีความเสี่ยงต่ำและผลตอบแทนสูง
อนุพันธ์ ช่วยทำให้เกิดการซื้อขายสินทรัพย์แบบอ้างอิงมากขึ้น โดยที่ไม่ต้องซื้อสินทรัพย์จริง ซึ่งช่วยเพิ่มสภาพคล่องให้กับตลาด และทำให้ราคาสะท้อนข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยให้ตลาดโดยรวมมีความน่าสนใจสำหรับนักลงทุนมากยิ่งขึ้น
แม้จะมี ความเสี่ยงของอนุพันธ์ แต่ก็ยังถือว่าเป็นเครื่องมือสำคัญในการ “ป้องกันความเสี่ยง” หรือ “Hedging” ที่ช่วยลดหรือจำกัดความเสียหายจากการลงทุน:
ช่วยให้คุณล็อกราคาไว้ล่วงหน้า เช่น ราคาหุ้น ค่าเงิน หรือวัตถุดิบ ทำให้มั่นใจว่าต้นทุนหรือรายรับจะไม่เปลี่ยนแปลง แม้ว่าตลาดจะมีความผันผวนมาก
สร้างสถานะในอนุพันธ์ตรงข้าม เพื่อลดผลกระทบจากตลาดที่มีความผันผวน เช่น ถือหุ้นไว้ แล้วเปิดสัญญาขายล่วงหน้าเพื่อป้องกันการขาดทุน หากตลาดอยู่ในขาลง
ช่วยจำกัดความเสียหายด้วย อนุพันธ์ ประเภท Option ในกรณีที่ตลาดไม่เป็นไปตามคาด ผู้ถือ Option สามารถเลือกไม่ใช้สิทธิ์ และเสียแค่ค่า Premium เท่านั้น
อนุพันธ์ช่วยบริหารอัตราแลกเปลี่ยนและดอกเบี้ย ช่น Forward หรือ Swap เพื่อตรึงอัตราแลกเปลี่ยนหรือดอกเบี้ยไว้ล่วงหน้า ลดผลกระทบปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจอื่นๆ
การลงทุนในอนุพันธ์ (Derivatives) เป็นช่องทางเพิ่มกำไร และลดความเสี่ยงให้นักลงทุนได้จริง แต่ก็จำเป็นต้องใช้ทั้งความรู้ และความเข้าใจ ดังนั้นหากคุณต้องการลงทุน จำป็นต้องทำตามเคล็ดลับนี้
นักลงทุนต้องเข้าใจอนุพันธ์อย่างถ่องแท้ก่อนลงทุน ทั้งความหมาย การทำงาน และประเภทให้ละเอียด เช่น Futures, Options หรือ CFD ว่ามีวิธีคิดราคา ความเสี่ยง และเงื่อนไขอย่างไร
คุณจะต้องมีเป้าหมายชัดเจนว่า ใช้อนุพันธ์เพื่ออะไร เช่น เก็งกำไร, ป้องกันความเสี่ยง, หรือกระจายพอร์ต เพื่อวางกลยุทธ์ให้เหมาะสม
ควรเลือกใช้เลเวอเรจ (Leverage) อย่างพอดี เพื่อการบริหารเงินทุนอย่างมีวินัย และแบ่งเงินทุนได้อย่างเหมาะสม
หากคุณอยู่ในตลาดอนุพันธ์ จะต้องติดตามข่าวสารและภาวะตลาดตลอดเวลา เพื่อช่วยในการวิเคราะห์แนวโน้มเทคนิคอล
ควบคุมอารมณ์ในการลงทุน ไม่ควรเข้าเทรดหากคุณไม่แน่ใจ เพราะสิ่งที่สำคัญที่สุดคือการรู้จักหวะการเข้าและออกตลาดตลาดการวิเคราะห์เทคนิคเท่านั้น
ข้อดี
ข้อเสีย
ช่วยป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนตลาด
ความเสี่ยงสูง
โอกาสทำกำไรสูง
มีความซับซ้อนทางเทคนิค
สภาพคล่องสูง
มีค่าธรรมเนียมเพิ่มเติม
อนุพันธ์มีประเภทลงทุนหลากหลาย
นักลงทุนสามารถเข้าถึงตลาดได้ง่ายผ่านสัญญา
อนุพันธ์ คือ เครื่องมือที่กำลังได้รับความนิยมมากในประเทศไทย นักลงทุนควรทำความเข้าใจ ตลาดอนุพันธ์ อย่างละเอียดก่อนลงทุน รวมถึงประเภท และความเสี่ยง เพื่อสร้างกลยุทธ์การเก็งกำไรได้อย่างมีประสิทธิภาพของคุณ นอกจากนี้แล้ว คุณก็ยังสามารถใช้เลเวอเรจในการเพิ่มผลตอบแทนได้ด้วยเช่นกัน แต่แน่นอนว่า คุณจำเป็นจะต้องเข้าใจการวิเคราะห์ทางเทคนิคกันก่อน เพื่อให้การใช้งานนี้ประสบความสำเร็จ สุดท้ายที่คุณจะต้องรู้ ก็คือ การติดตามข่าวสารอยู่ตลอดเวลานั่นเอง
เปิดบัญชีและเริ่มต้นเลย
อนุพันธ์ มี 3 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่ Futures, Options, และ CFD ซึ่งแต่ละประเภทมีลักษณะการทำงานที่แตกต่างกัน และใช้ในกลยุทธ์การลงทุนที่หลากหลาย
Futures คือ สัญญาที่ทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย ที่ต้องซื้อหรือขายในอนาคต ขณะที่ Options คือ สิทธิที่ให้ผู้ซื้อเลือกซื้อหรือขายสินทรัพย์ ในราคาที่ตกลงไว้ แต่ไม่ได้บังคับ
TFEX (ตลาดอนุพันธ์) ในประเทศไทยมีการซื้อขาย Futures, Options, และ Single Stock Futures ซึ่งรวมถึงดัชนี SET50 และหุ้นต่างๆ ที่เป็นสินทรัพย์อ้างอิง
การซื้อขาย Options เกี่ยวข้องกับการเลือกสิทธิการซื้อหรือขายสินทรัพย์ ในราคาที่ตกลงไว้ ซึ่งการซื้อ Call Option ทำให้สามารถซื้อสินทรัพย์ ในราคาที่กำหนด และการซื้อ Put Option ให้สิทธิในการขายสินทรัพย์ในราคาที่กำหนด
อนุพันธ์ ไม่ใช่การลงทุนในสินทรัพย์จริง แต่เป็นการลงทุนในสัญญาที่อ้างอิงกับสินทรัพย์อื่น ซึ่งช่วยให้สามารถทำกำไรจากการเคลื่อนไหวของราคาได้ ไม่จำเป็นต้องถือครองสินทรัพย์จริง
Forward คือ สัญญาซื้อขายล่วงหน้า ที่ทำขึ้นโดยตรงระหว่างสองฝ่าย มีความยืดหยุ่นในเงื่อนไขและไม่สามารถซื้อขายได้ในตลาด ส่วน Future เป็นสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ทำในตลาดกลาง มีการควบคุมและกำหนดเงื่อนไขที่ชัดเจน
SEO Content Writer
อิสสริยา ดวงเนตร เป็นนักเขียนคอนเท้นต์ SEO ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เชี่ยวชาญด้านการให้ความรู้ เรื่องตลาดเทรด และ การลงทุน เน้นสไตล์การเขียนที่อ่านง่าย เข้าใจง่าย และเนื้อหาความรู้จัดเต็ม พร้อมกับการผสมผสานเทคนิค SEO ที่ช่วยให้ผู้อ่านค้นหาบทความได้ง่าย อย่าลืมติดตามกันนะคะ
เนื้อหาในเอกสารหรือภาพนี้ประกอบด้วยความคิดเห็นและแนวคิดส่วนบุคคล ซึ่งอาจไม่สอดคล้องกับความคิดเห็นของบริษัท ข้อมูลในที่นี้ไม่ควรตีความว่าเป็นคำแนะนำด้านการลงทุนใดๆ และ/หรือการชักชวนให้ทำธุรกรรมใดๆ ไม่มีการแสดงถึงข้อผูกพันในการซื้อบริการการลงทุน และไม่รับประกันหรือคาดการณ์ผลการดำเนินงานในอนาคต บริษัท XS บริษัทในเครือ ตัวแทน กรรมการ เจ้าหน้าที่ หรือพนักงาน ไม่รับประกันห้วงเวลา ความสมบูรณ์หรือความถูกต้องของข้อมูลหรือข้อมูลใดๆที่มีให้ และไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสียใดๆที่เกิดจากการลงทุนตามข้อมูลดังกล่าวแพลตฟอร์มของเราอาจไม่มีผลิตภัณฑ์หรือบริการทั้งหมดที่กล่าวถึง