Facebook Pixel
Logo
หน้าหลัก   Breadcrumb right  บทความ   Breadcrumb right  Current ratio คือ

แนวโน้มราคา

Current Ratio คืออะไร? ความหมาย วิธีการคำนวณ ครบจบที่นี่

เขียนโดย Itsariya Doungnet

อัปเดตแล้ว 23 กรกฎาคม 2025

current-ratio-คือ
สารบัญ

    Current Ratio คืออะไร และทำงานอย่างไร ? ในบทความนี้เราจะมาสรุป อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน ที่นักลงทุนจำเป็นต้องรู้กันกว่า ความหมาย Current Ratio คืออะไร, วิธีการคำนวณ, ความสามารถในการชำระหนี้ระยะสั้น และมีข้อควรระวังการใช้งาน เรามาอ่านรายละเอียดกันต่อเลย!

    สาระสำคัญ

    • Current Ratio คือ อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนที่วัดความสามารถชำระหนี้สินระยะสั้น โดยเปรียบเทียบระหว่างสินทรัพย์หมุนเวียนกับหนี้สินหมุนเวียน

    • ค่า Current Ratio ที่มากกว่า 1 แสดงว่าธุรกิจมีสภาพคล่องเพียงพอ ส่วนค่าที่สูงเกินไปหมายความว่าทรัพย์สินไม่ได้ถูกใช้เต็มประสิทธิภาพ

    • ควรใช้ Current Ratio ร่วมกับอัตราส่วนอื่นๆ เช่น Quick Ratio และ Cash Ratio เพื่อความแม่นยำในวิเคราะห์สภาพคล่องการเงินรอบด้าน

    ทอลองใช้บัญชีเดโม่โดยไม่มีความเสี่ยง

    ลงทะเบียนบัญชีเดโม่ฟรีและปรับกลยุทธ์การเทรดของคุณ

    เปิดบัญชีโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

    Current Ratio คืออะไร?

    Current Ratio คือ หนึ่งใน อัตราส่วนสภาพคล่อง ที่ใช้วัดความสามารถของธุรกิจในการชำระหนี้สินระยะสั้น การทำความเข้าใจค่าของ Current Ratio ช่วยให้การวิเคราะห์สภาพคล่องธุรกิจ มีความแม่นยำมากขึ้นและเป็นพื้นฐานสำคัญของการวิเคราะห์หุ้นและงบการเงิน

     

    ใครบ้างที่ใช้ Current Ratio ในการวิเคราะห์?

    Current Ratio คือ อัตราที่มีความสำคัญกับหลายฝ่าย แต่ละฝ่ายก็มีจุดประสงค์การใช้งานที่แตกต่างกันไป

    • ฝ่ายบริหารและเจ้าของกิจการ มักใช้ Current Ratio เพื่อประเมินความสามารถของธุรกิจในการรับมือกับภาระหนี้ในระยะสั้น และใช้เป็นเครื่องชี้วัดเพื่อวางแผนการเงิน หรือควบคุมสภาพคล่องให้เหมาะสมกับเป้าหมายทางธุรกิจ

    • ฝ่ายบัญชีและการเงิน ใช้การประกอบในการวิเคราะห์งบการเงิน และช่วยสะท้อนประสิทธิภาพในการจัดการสินทรัพย์หมุนเวียนเทียบกับหนี้สินหมุนเวียน เป็นตัวช่วยในการจัดทำรายงานทางการเงินที่ครบถ้วนและแม่นยำ

    • นักวิเคราะห์และที่ปรึกษาทางการเงิน ใช้เป็นส่วนหนึ่งของการวิเคราะห์ภาพรวมกิจการ ทั้งในด้านความเสี่ยงและความสามารถในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน

    • นักลงทุนและผู้ให้กู้ มอง Current Ratio เป็นสัญญาณเริ่มต้นของความมั่นคงทางการเงิน หากบริษัทมีสภาพคล่องดี ย่อมสร้างความเชื่อมั่นได้มากกว่าในสายตาของผู้ลงทุนหรือผู้ให้สินเชื่อ

     

    สูตร Current Ratio

    ซึ่งจะมีการนำสินทรัพย์หมุนเวียน เช่น เงินสด ลูกหนี้การค้า และสินค้าคงคลัง มาเทียบกับหนี้สินหมุนเวียนตาม สูตร Current Ratio = สินทรัพย์หมุนเวียน/หนี้สินหมุนเวียน

    สูตร-Current-Ratio

    ส่วนประกอบของสูตร Current Ratio

    • สินทรัพย์หมุนเวียน  ได้แก่ เงินสด, ลูกหนี้การค้า, และสินค้าคงคลัง

    • หนี้สินหมุนเวียน ได้แก่ เจ้าหนี้การค้า และหนี้สินระยะสั้นที่ต้องชำระภายใน 1 ปี

     

    ตัวอย่าง current ratio

    สมมติว่า บริษัท A มีสินทรัพย์หมุนเวียนรวม 10 ล้านบาท ส่วนหนี้สินหมุนเวียนอยู่ที่ 5 ล้านบาท

    • วิธีคำนวณ Current Ratio จะเท่ากับ 10/5 หรือ 2 เท่า

    • หมายความว่า บริษัทมีสินทรัพย์หมุนเวียนสูงกว่าหนี้สินหมุนเวียนถึง 2 เท่า

    ค่า current ratio ความหมายนี้สะท้อนถึงความสามารถของบริษัทในการใช้สินทรัพย์หมุนเวียนที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้อย่างรวดเร็ว มาชำระหนี้ระยะสั้นตามที่ครบกำหนด

     

    การตีความผลลัพธ์ current ratio

    เมื่อเราทราบค่า Current Ratio เรียบร้อยแล้ว เราก็มาหาคำตอบกันต่อกันเลยว่าหมายความว่าอะไร:

    • หาก Current Ratio มากกว่า 1 แสดงว่าธุรกิจมีสภาพคล่องที่ดี สามารถชำระหนี้ระยะสั้นได้อย่างมั่นคง

    • หาก Current Ratio ต่ำกว่าหนึ่ง อาจบ่งชี้ถึงความเสี่ยงทางการเงิน และอาจขาดสภาพคล่องในการชำระหนี้

    • หาก Current Ratio สูงเกินไป หรือ สภาพคล่องเกินจริง อาจหมายความว่าธุรกิจไม่ได้ใช้ทรัพย์สินอย่างมีประสิทธิภาพ หรือมีสินทรัพย์ที่ไม่ก่อให้เกิดผลตอบแทน

     

    ข้อระวังของสินทรัพย์หมุนเวียน (Current Ratio)

    สิ่งสำคัญที่ต้องระวัง คือ คุณภาพ และ ความสามารถในการเปลี่ยนสินทรัพย์หมุนเวียนให้เป็นเงินสดจริง เพราะสินทรัพย์แต่ตัวมีความแตกต่างกัน เพราะฉะนั้นแล้ว เรามาดูรายละเอียดกันต่อเลย

    • สินทรัพย์หมุนเวียน ประกอบด้วย เงินสด, ลูกหนี้การค้า, สินค้าคงคลัง, รายการลงทุนระยะสั้นต่ำกว่า 1 ปี เช่น เงินฝากและตั๋วรับเงิน, รายได้ค้างรับและค่าใช้จ่ายล่วงหน้า

    • สินค้าคงคลัง คือ สินทรัพย์หมุนเวียนที่มีมูลค่าสูงที่สุด ซึ่งอาจทำให้ Current Ratio สูงขึ้นได้ แต่สินค้าคงคลังไม่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ทันที และมีค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษา รวมถึงความเสี่ยงจากสินค้าตกรุ่น

    • การวิเคราะห์ Current Ratio ควรพิจารณาร่วมกับอัตราส่วนอื่น ๆ เช่น Quick Ratio ซึ่งตัดสินค้าคงคลังออก เพื่อให้เห็นภาพสภาพคล่องที่แท้จริงของธุรกิจ

     

    อัตราส่วนอื่นๆ ที่ช่วยเสริม

    อัตราส่วนอื่นๆ นี้จะช่วยเสริมวิเคราะห์สภาพคล่องของธุรกิจเพิ่มเติมจาก Current Ratio เพื่อช่วยให้คุณตัดสินใจได้แม่นยำมากขึ้น ซึ่งจะเน้นไปที่การวัดความสามารถชำระหนี้ระยะสั้นที่ต่างมุมมองกัน

    อัตราส่วน-ที่ช่วยเสริม-current-ratio

    Quick Ratio (อัตราส่วนด่วน)

    Quick Ratio คือ อัตราชี้วัดสภาพคล่องที่เข้มงวดกว่า Current Ratio เพราะตัดสินค้าคงคลังออก เนื่องจากสินค้าคงคลังอาจขายไม่ได้ทันทีหรือมีมูลค่าลดลง การใช้ Quick Ratio ช่วยให้เห็นภาพความสามารถในการชำระหนี้ระยะสั้นด้วยสินทรัพย์ที่เปลี่ยนเป็นเงินสดได้รวดเร็วมากขึ้น ทำให้ประเมินสภาพคล่องได้แม่นยำกว่า

     

    Cash Ratio

    Cash Ratio คือ วัดเฉพาะเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดที่ธุรกิจถือครองเท่านั้น เป็นการวัดสภาพคล่องระดับสูงสุด เพราะเงินสดสามารถนำไปใช้จ่ายหนี้สินได้ทันที อัตราส่วนนี้จึงสะท้อนความเสี่ยงด้านสภาพคล่องต่ำสุด แต่บางกรณีอาจตีความได้จำกัด เพราะไม่รวมสินทรัพย์ที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ในระยะเวลาอันสั้น เช่น ลูกหนี้การค้า

     

    Operating Cash Flow Ratio

    Operating Cash Flow Ratio คือ การวัดกระแสเงินสดที่เกิดจากการดำเนินงานหลักของบริษัทเทียบกับหนี้สินระยะสั้น ช่วยให้เข้าใจว่าสภาพคล่องของบริษัทมาจากการสร้างเงินสดจริงในกิจกรรมหลักหรือไม่ ซึ่งสำคัญมากสำหรับการประเมินความสามารถในการชำระหนี้อย่างต่อเนื่อง โดยที่ไม่ต้องพึ่งพาแหล่งเงินทุนภายนอก

     

    ทำไม Current Ratio ถึงสำคัญสำหรับมือใหม่?

    Current Ratio คือ หนึ่งในอัตราส่วนทางการเงินพื้นฐานที่นักลงทุนมือใหม่ควรรู้ เพราะสามารถใช้ประเมินเบื้องต้นได้ว่า สภาพคล่องของธุรกิจดีหรือไม่? เป็นการตรวจสอบความสามารถในการนำสินทรัพย์หมุนเวียนมาชำระหนี้สินระยะสั้น ซึ่งเป็นสัญญาณแรก ๆ ของความมั่นคงทางการเงิน

    นอกจากนี้ Current Ratio ยังเป็นเครื่องมือสำคัญในการวิเคราะห์หุ้นหรือพิจารณาบริษัทที่ต้องการลงทุน เพราะเป็นค่าที่หาได้ง่ายจากงบการเงิน และให้ข้อมูลที่มีประโยชน์สำหรับการเปรียบเทียบบริษัทในเบื้องต้นก่อนตัดสินใจลงทุน

     

    ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งานจริง

    สมมติว่าบริษัท X มีสินทรัพย์หมุนเวียนในงบดุลรวม 8 ล้านบาท และหนี้สินหมุนเวียนรวม 4 ล้านบาท เมื่อนำมาคำนวณ Current Ratio จะได้

    Current Ratio = 8/4 = 2

    หมายความว่าบริษัท X มีสินทรัพย์หมุนเวียนคิดเป็น 2 เท่าของหนี้สินหมุนเวียน แสดงถึงสภาพคล่องที่ดีในระยะสั้น

    นักลงทุนที่กำลังพิจารณาซื้อหุ้นของบริษัท X อาจใช้ค่า Current Ratio นี้ เป็นตัวช่วยในการประเมินความสามารถของบริษัทในการชำระหนี้ระยะสั้น หาก Current Ratio อยู่ในช่วง 1.5 ถึง 3 จะถือว่าบริษัทมีความสมดุลทางการเงินและลดความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง ทำให้นักลงทุนตัดสินใจลงทุนได้มั่นใจมากขึ้น

     

    สรุป

    Current Ratio คือ เครื่องมือสำคัญในการประเมินสภาพคล่องระยะสั้นของธุรกิจ แต่การใช้ Current Ratio เพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ เนื่องจากไม่สามารถบอกคุณภาพสินทรัพย์ทั้งหมดได้ เพราะฉะนั้นแล้ว ควรใช้ควบคู่กับตัวชี้วัดอื่นๆ เช่น Quick Ratio และ Cash Ratio เพื่อให้การวิเคราะห์มีความแม่นยำมากขึ้น ช่วยให้ผู้ลงทุนและผู้บริหารตัดสินใจได้ดีขึ้นและลดความเสี่ยงทางการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ

    พร้อมสำหรับก้าวต่อไปในการซื้อขายหรือยัง?

    เปิดบัญชีและเริ่มต้นเลย

    รับสิทธิ์เข้าถึงฟรี
    สารบัญ

      คำถามที่พบบ่อย

      ค่า Current Ratio ที่ดีควรมากกว่า 1 ปกติจะอยู่ระหว่าง 1.5 ถึง 3 ถือว่าสภาพคล่องธุรกิจเหมาะสม ไม่เสี่ยงขาดสภาพคล่อง แต่ค่าเกิน 3 อาจหมายถึง การใช้สินทรัพย์ไม่เต็มประสิทธิภาพ

      Quick Ratio ตัดสินค้าคงคลังออกจากสินทรัพย์หมุนเวียน เน้นวัดสภาพคล่องที่แท้จริง โดยใช้สินทรัพย์ที่เปลี่ยนเป็นเงินสดได้เร็วกว่า ส่วน Current Ratio นับสินค้าคงคลังด้วย

      ใช้วัดความสามารถของธุรกิจในการชำระหนี้ระยะสั้น เพื่อประเมินว่ามีเงินสดหรือสินทรัพย์หมุนเวียนเพียงพอในการชำระหนี้ที่ครบกำหนดหรือไม่

      บอกถึงความสามารถของบริษัทในการชำระหนี้ระยะสั้นโดยใช้สินทรัพย์หมุนเวียนที่มีอยู่ เช่น เงินสด ลูกหนี้ และสินค้าคงคลัง

      ค่า 1.5 หมายความว่า สินทรัพย์หมุนเวียนมีมากกว่าหนี้สินหมุนเวียน 1.5 เท่า

      Current Ratio คือ อัตราส่วนวัดสภาพคล่องรวมสินทรัพย์หมุนเวียนทั้งหมด ส่วน Quick Ratio คือ อัตราส่วนที่วัดสภาพคล่องโดยตัดสินค้าคงคลังออก เพื่อประเมินสภาพคล่องที่แท้จริงมากขึ้น

      Itsariya Doungnet

      Itsariya Doungnet

      SEO Content Writer

      อิสสริยา ดวงเนตร เป็นนักเขียนคอนเท้นต์ SEO ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เชี่ยวชาญด้านการให้ความรู้ เรื่องตลาดเทรด และ การลงทุน เน้นสไตล์การเขียนที่อ่านง่าย เข้าใจง่าย และเนื้อหาความรู้จัดเต็ม พร้อมกับการผสมผสานเทคนิค SEO ที่ช่วยให้ผู้อ่านค้นหาบทความได้ง่าย อย่าลืมติดตามกันนะคะ

      เนื้อหาในเอกสารหรือภาพนี้ประกอบด้วยความคิดเห็นและแนวคิดส่วนบุคคล ซึ่งอาจไม่สอดคล้องกับความคิดเห็นของบริษัท ข้อมูลในที่นี้ไม่ควรตีความว่าเป็นคำแนะนำด้านการลงทุนใดๆ และ/หรือการชักชวนให้ทำธุรกรรมใดๆ ไม่มีการแสดงถึงข้อผูกพันในการซื้อบริการการลงทุน และไม่รับประกันหรือคาดการณ์ผลการดำเนินงานในอนาคต บริษัท XS บริษัทในเครือ ตัวแทน กรรมการ เจ้าหน้าที่ หรือพนักงาน ไม่รับประกันห้วงเวลา ความสมบูรณ์หรือความถูกต้องของข้อมูลหรือข้อมูลใดๆที่มีให้ และไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสียใดๆที่เกิดจากการลงทุนตามข้อมูลดังกล่าวแพลตฟอร์มของเราอาจไม่มีผลิตภัณฑ์หรือบริการทั้งหมดที่กล่าวถึง

      scroll top