ตลาด
บัญชี
แพลตฟอร์ม
นักลงทุน
โปรแกรมพันธมิตร
สถาบัน
โปรแกรมความภักดี
เครื่องมือ
เขียนโดย Itsariya Doungnet
อัปเดตแล้ว 21 กรกฎาคม 2025
EPS คือ ตัวชี้วัดที่นักลงทุนใช้วิเคราะห์หุ้น แต่การเลือกหุ้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับ EPS เพียงอย่างเดียว คุณจำเป็นต้องวิเคราะห์ปัจจัยอื่ยๆ ร่วมด้วย เช่น สถานะทางการเงินบริษัท, แนวโน้มธุรกิจ และอื่นๆ ที่ส่งผลต่อศักยภาพการเติบโตของหุ้นบริษัท บทความนี้ เราจะพาคุณไปทำความเข้าใจว่า EPS คืออะไร มีความสำคัญกับนักลงทุนอย่างไร และ การวิเคราะห์งบการเงิน เพื่อหาหุ้นที่มีผลตอบแทนที่ดีที่สุด
EPS คือ ตัวชี้วัดสำคัญของกำไรต่อหุ้น ซึ่งช่วยให้นักลงทุนประเมินศักยภาพบริษัทว่ามีกำไรเท่าไรต่อหุ้นหนึ่งตัว
EPS มีหลายประเภท เช่น Basic, Diluted และ Adjusted EPS ซึ่งช่วยให้เข้าใจมุมมองที่แตกต่างกันของผลประกอบการ
การเลือกหุ้นที่ให้ผลตอบแทนดีไม่ดูแค่ EPS อย่างเดียว ต้องพิจารณาควบคู่กับ P/E, EPS Growth และนโยบายปันผล
ลงทะเบียนบัญชีเดโม่ฟรีและปรับกลยุทธ์การเทรดของคุณ
EPS คือ กำไรต่อหุ้น ซึ่ง EPS ย่อมาจาก Earning Per Share หรือ อัตราส่วนทางการเงินที่เราใช้วิเคราะห์การเงินของบริษัทที่เราลงทุน โดยอัตราการเงินนี้จะแสดงทั้งงบกำไรและงบขาดทุน นี่จะเป็นตัวช่วยบ่งบอกผลตอบแทนของนักลงทุน ยิ่ง EPS สูง ก็หมายความว่า บริษัทให้กำไรสูง
EPS แบ่งออกเป็นหลายประเภท แต่ละแบบมีมุมมองแตกต่างกัน ซึ่งด้านล่างนี้คือ 3 ประเภทที่พบบ่อยสุด
Basic EPS คือ กำไรต่อหุ้น ในรูปแบบ EPS พื้นฐาน ที่สุด เป็นการคำนวณจากกำไรสุทธิของบริษัท หารด้วยจำนวนหุ้นสามัญที่มีอยู่ทั้งหมด โดยไม่สนใจว่าบริษัทจะมีหุ้นอื่นที่อาจถูกแปลงเป็นหุ้นสามัญในอนาคตหรือไม่ เป็นตัวเลขที่ดูง่าย เหมาะกับการเริ่มต้นวิเคราะห์
Diluted EPS คือ กำไรต่อหุ้นแบบปรับลด ที่ดูรอบคอบกว่า เป็นการคำนวณเผื่อไว้ หากหุ้นอื่น ๆ เช่น หุ้นกู้แปลงสภาพ หรือ ออปชันพนักงาน ถูกเปลี่ยนเป็นหุ้นสามัญจริง ๆ EPS ปรับลดเท่าไร ตัวเลขนี้จึงมักจะต่ำกว่า Basic EPS และถือว่าสะท้อนความจริงได้ชัดขึ้น เพราะดูภาพรวมแบบแย่ที่สุดไว้ก่อน
Adjusted EPS คือ กำไรต่อหุ้นที่ถูกปรับแต่ง เพื่อให้เห็นกำไรจากการดำเนินงานปกติของบริษัท ไม่รวมรายได้หรือรายจ่ายที่เกิดขึ้นแค่ครั้งเดียว เช่น กำไรจากการขายทรัพย์สิน หรือ ค่าปรับพิเศษ ตัวเลขนี้ช่วยให้นักลงทุนเห็นว่าบริษัททำกำไรได้จริงจากธุรกิจหลักหรือไม่
เรามาดูสูตรการคำนวณ EPS เพื่อวิเคราะห์หุ้นของคุณกันต่อเลย:
สูตร EPS ใช้ในกรณีที่ บริษัทไม่มีหุ้นบุริมสิทธิ หรือ ไม่มีการจ่ายปันผลจากหุ้นบุริมสิทธิ
กำไรสุทธิ คือ กำไรที่บริษัทได้หักค่าใช้จ่ายอื่นๆ ไปแล้ว เช่น ภาษี, ดอกเบี้ย ฯลฯ
จำนวนหุ้นสามัญที่ออกจำหน่าย คือ จำนวนหุ้นที่ออกและอยู่ในมือผู้ถือครองหุ้นทั่วไป
บริษัทมีความสามารถทำกำไร หากมีนโยบายจ่ายเงินปันผล ก็อาจจะได้เพิ่ม เหมาะกับการลงทุนระยะยาว
บริษัทอยู่ในช่วงขาดทุน ราคาหุ้นลดลง และอาจจะไม่แน่นอนในอนาคต
เราจะมาคำนวณ EPS พร้อมกับ จากข้อมูลจริง:
เลือกรายรับสุทธิของบริษัท ที่เป็น อัตรากำไรสุทธิ ในปีล่าสุด จะมีค่าเท่ากับ 93,736 ล้านบาท
เราใช้ค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก จำนวนหุ้นที่คงค้างเบื้องต้น ที่เป็นจำนวนหุ้นบริษัทที่ชำระแล้ว มีค่าเท่ากับ 15,343.78 ล้านหุ้น
รายได้สุทธิผู้ถือหุ้นไม่รวมรายการพิเศษ = 93,736 ล้านบาท
ค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักจำนวนหุ้นที่คงค้างเบื้องต้น = 15,343.78 ล้านหุ้น
EPS = 93,736/15,343.78
EPS ต่อหุ้น = 6.11 ล้านบาทต่อหุ้น
EPS เป็นตัวชี้วัดที่มีความสำคัญอย่างมากในการเลือกหุ้นเพื่อใช้ในการลงทุน และเป็นสิ่งที่นักลงทุนไม่ควรมองหา เพราะด้วยเหตุใดนั้นเรามาอ่านกันต่อเลย
EPS ช่วยให้เราเห็นว่าบริษัทสามารถสร้างกำไรได้มากแค่ไหน เมื่อเทียบกับจำนวนหุ้นที่มีอยู่ หาก EPS สูง แปลว่า บริษัททำกำไรได้ดีต่อหุ้น และนั่นคือสัญญาณเชิงบวกสำหรับนักลงทุน โดยเฉพาะผู้ที่สนใจซื้อหุ้นเพื่อผลตอบแทนในระยะยาว
EPS ยังเป็นเครื่องมือที่ดีในการดูแนวโน้มของบริษัท เช่น EPS เพิ่มขึ้นทุกปี แสดงว่าบริษัทมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง และหากเปรียบเทียบ EPS ของบริษัทหนึ่งกับบริษัทอื่นในอุตสาหกรรมเดียวกัน ก็จะช่วยให้รู้ว่าบริษัทนั้นทำได้ดีกว่าหรือแย่กว่าคู่แข่งอย่างไร
EPS ยังมีข้อจำกัดหลายอย่างที่คุณควรรู้ เพื่อไม่ให้ตัดสินผิดพลาดการตรวจดูตัวเลขเพียงแค่ตัวเดียว
EPS บอกได้ว่าบริษัทมีกำไรต่อหุ้นเท่าไร แต่ไม่ได้บอกว่าธุรกิจมีความแข็งแกร่งหรือมีหนี้สินมากน้อยแค่ไหน ดังนั้น การดู EPS เพียงอย่างเดียวอาจไม่พอ นักลงทุนควรดูตัวเลขอื่นประกอบด้วย เช่น รายได้, กระแสเงินสด, หนี้สิน, หรืออัตราการเติบโต
สำหรับบริษัทที่ยังขาดทุน EPS จะติดลบ ทำให้ใช้เปรียบเทียบได้ยาก โดยเฉพาะกับหุ้นกลุ่มสตาร์ทอัปหรือธุรกิจที่เพิ่งเริ่มต้น ซึ่งแม้จะมีโอกาสเติบโตสูง แต่ EPS อาจยังไม่สะท้อนศักยภาพที่แท้จริง
บางครั้งบริษัทซื้อหุ้นคืนทำให้จำนวนหุ้นลดลง ส่งผลให้ EPS ดูสูงขึ้น ทั้งที่กำไรจริงอาจไม่เพิ่ม หรืออาจแค่ทรงตัว ดังนั้นการเพิ่มขึ้นของ EPS ไม่ได้แปลว่าบริษัททำกำไรได้ดีขึ้นเสมอไป ต้องดูด้วยว่าตัวเลขนี้มาจากการดำเนินงานจริงหรือเกิดจากการเปลี่ยนแปลงจำนวนหุ้น
อัตราส่วน
คำอธิบาย
ความสัมพันธ์กับ EPS
ใช้เพื่อดูอะไร
EPS
กำไรสุทธิต่อหุ้น
เป็นพื้นฐานของหลายอัตราส่วนทางการเงิน
ดูว่าบริษัททำกำไรได้เท่าไหร่ต่อหุ้นหนึ่งตัว
P/E Ratio
วัดค่าราคาหุ้นแพงหรือถูกเมื่อเทียบกับกำไร
ยิ่ง EPS สูง = P/E ต่ำ
ประเมินความถูก-แพงของหุ้นและความคาดหวังของนักลงทุน
EPS Growth
การเติบโตกำไรต่อหุ้นเมื่อเทียบกับอดีต
เปรียบเทียบ EPS หลายงวด
ตรวจสอบว่าบริษัทมีการเติบโตต่อเนื่องหรือไม่
Dividend Payout Ratio
สัดส่วนกำไรที่นำไปจ่ายเป็นเงินปันผล
คำนวณจาก เงินปันผล/EPS
ดูว่านโยบายปันผลของบริษัทจะจ่ายมากหรือจ่ายน้อย
EPS คือ ตัวชี้วัดสำคัญที่ช่วยให้เรารู้ว่าบริษัทมีกำไรต่อหุ้นเท่าไหร่ แต่ไม่ควรใช้แยกเดี่ยว ควรดูควบคู่กับอัตราส่วนอื่น เช่น P/E, EPS Growth และ Dividend Payout Ratio เพื่อให้เห็นภาพรวมทั้งด้านกำไร การเติบโต และนโยบายปันผลของบริษัทอย่างรอบด้าน การวิเคราะห์ EPS อย่างรอบคอบช่วยลดความเสี่ยงและเพิ่มโอกาสการตัดสินใจลงทุนที่แม่นยำ
เปิดบัญชีและเริ่มต้นเลย
กำไรต่อหุ้นพื้นฐานดี (Basic EPS) คือ กำไรสุทธิที่บริษัทสร้างได้ หารด้วยจำนวนหุ้นสามัญทั้งหมดที่มีอยู่ ให้เห็นว่าหุ้นหนึ่งตัวทำกำไรได้เท่าไร
EPS = กำไรสุทธิ/จำนวนหุ้นสามัญที่มีอยู่ หากใช้แบบ Diluted EPS จะรวมหุ้นที่อาจเพิ่มในอนาคต
EPS บอกว่าหุ้นหนึ่งตัวทำกำไรได้เท่าไร ส่วน ROE (Return on Equity) บอกว่าบริษัทใช้เงินทุนของผู้ถือหุ้นสร้างกำไรได้ดีแค่ไหน ทั้งสองตัวชี้วัดความสามารถในการทำกำไร แต่ใช้คนละมุมมอง
EPS Growth คือ การวัดว่า EPS ของบริษัทเพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาก่อนหน้าหรือไม่ เช่น ไตรมาสก่อนหรือปีก่อน เป็นตัวชี้วัดการเติบโตของกำไรในระยะยาว
EPS เป็นตัวชี้วัดว่าบริษัทสามารถสร้างกำไรได้มากน้อยแค่ไหนต่อหุ้นหนึ่งตัว ใช้ประกอบการตัดสินใจลงทุน และเปรียบเทียบกับบริษัทอื่นในอุตสาหกรรมเดียวกัน
ความหมายของ EPS คือ กำไรต่อหุ้น เป็นหนึ่งในตัวเลขสำคัญที่นักลงทุนใช้วิเคราะห์ว่าแต่ละหุ้นให้ผลตอบแทนดีหรือไม่ โดยดูจากกำไรสุทธิต่อหุ้น
SEO Content Writer
อิสสริยา ดวงเนตร เป็นนักเขียนคอนเท้นต์ SEO ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เชี่ยวชาญด้านการให้ความรู้ เรื่องตลาดเทรด และ การลงทุน เน้นสไตล์การเขียนที่อ่านง่าย เข้าใจง่าย และเนื้อหาความรู้จัดเต็ม พร้อมกับการผสมผสานเทคนิค SEO ที่ช่วยให้ผู้อ่านค้นหาบทความได้ง่าย อย่าลืมติดตามกันนะคะ
เนื้อหาในเอกสารหรือภาพนี้ประกอบด้วยความคิดเห็นและแนวคิดส่วนบุคคล ซึ่งอาจไม่สอดคล้องกับความคิดเห็นของบริษัท ข้อมูลในที่นี้ไม่ควรตีความว่าเป็นคำแนะนำด้านการลงทุนใดๆ และ/หรือการชักชวนให้ทำธุรกรรมใดๆ ไม่มีการแสดงถึงข้อผูกพันในการซื้อบริการการลงทุน และไม่รับประกันหรือคาดการณ์ผลการดำเนินงานในอนาคต บริษัท XS บริษัทในเครือ ตัวแทน กรรมการ เจ้าหน้าที่ หรือพนักงาน ไม่รับประกันห้วงเวลา ความสมบูรณ์หรือความถูกต้องของข้อมูลหรือข้อมูลใดๆที่มีให้ และไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสียใดๆที่เกิดจากการลงทุนตามข้อมูลดังกล่าวแพลตฟอร์มของเราอาจไม่มีผลิตภัณฑ์หรือบริการทั้งหมดที่กล่าวถึง