ตลาด
บัญชี
แพลตฟอร์ม
นักลงทุน
โปรแกรมพันธมิตร
สถาบัน
โปรแกรมความภักดี
เครื่องมือ
เขียนโดย Itsariya Doungnet
อัปเดตแล้ว 11 กรกฎาคม 2025
มือใหม่นักเทรดที่กำลังมองหา ความหมาย Flag Pattern คืออะไร และมีวิธีการใช้งานยังไง สามารถใช้ในตลาดเทรดอะไรได้บ้าง บทความนี้ เราจะพาคุณไปทำความรู้จักกับ Flag Pattern อย่างละเอียดแต่เข้าใจง่าย พร้อมคำแนะนำจุดเข้าเทรดซื้อขาย วิธีสังเกต การใช้งานจริง และข้อควรระวัง เพื่อให้คุณสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ทันทีในการวิเคราะห์กราฟเทรดครั้งต่อไปของคุณ
Flag Pattern คือ รูปแบบกราฟที่บ่งชี้ช่วงพักตัวของราคา หลังจากราคาวิ่งแรงในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง ราคาจะพักตัวในกรอบแคบก่อนวิ่งต่อ
โครงสร้างหลัก Flag Pattern มี 2 ส่วน คือ เสาธง ที่แสดงถึงช่วงราคาวิ่งแรง ส่วนตัวธง แสดงถึงช่วงพักตัวในกรอบแคบ มักเป็นเส้นขนานหรือเอียงเล็กน้อย
Flag Pattern แบ่งเป็น 2 ประเภทหลัก คือ Bullish Flag (พักตัวก่อนขึ้นต่อ) และ Bearish Flag (พักตัวก่อนลงต่อ)
การใช้งาน Flag Pattern คือ การรอราคาทะลุตัวธงออก พร้อมปริมาณซื้อขายเพิ่มขึ้น แล้วตั้งจุดหยุดขาดทุนควบคุมความเสี่ยง
ลงทะเบียนบัญชีเดโม่ฟรีและปรับกลยุทธ์การเทรดของคุณ
Flag Pattern คือ รูปแบบของ การวิเคราะห์ทางเทคนิค (Technical Analysis) มีอีกชื่อเรียกว่า แพทเทิร์นธง ช่วยให้นักเทรดสามารถระบุช่วงพักตัวชั่วคราวของราคาก่อนที่แนวโน้มหลักจะดำเนินต่อไป มักพบในกราฟราคาของหุ้น, คริปโต, Forex หรือสินทรัพย์การเงินอื่น ๆ รูปแบบนี้เกิดขึ้นหลังจากที่ราคามีการเคลื่อนไหวรุนแรงในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง เรียกว่า "เสาธง" แล้วตามด้วยช่วงพักตัวที่ราคาขยับขึ้น–ลงในกรอบแคบ เรียกว่า "ตัวธง"
Flag Pattern ประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก ๆ ที่ช่วยให้นักเทรดสามารถระบุรูปแบบนี้ได้ง่ายขึ้น ได้แก่:
เสาธง เป็นช่วงที่ราคามีการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วและรุนแรงในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นขาขึ้นหรือขาลง ซึ่งแสดงถึงแรงซื้อหรือแรงขายที่ชัดเจน และเป็นการกำหนดแนวโน้มหลักของรูปแบบนี้ เสาธงมักมีลักษณะเป็นแท่งยาวต่อเนื่องกันโดยมีวอลุ่มเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน
หลังจากเกิดเสาธงแล้ว ราคาจะเข้าสู่ช่วงพักตัว ตัวธง คือ การเคลื่อนไหวในกรอบแคบระหว่างแนวรับและแนวต้าน โดยกรอบราคานี้มักจะเป็นเส้นขนาน หรือเอียงเล็กน้อยไปในทิศทางตรงข้ามกับเสาธง ตัวธงแสดงถึงช่วงกรอบเวลาที่ตลาดกำลังรวบรวมพลัง ก่อนจะมีการเบรกออกจากกรอบและกลับเข้าสู่แนวโน้มหลักเดิม
Flag Pattern สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทหลัก พิจารณาจากทิศทางของแนวโน้มก่อนและหลังช่วงพักตัว ได้แก่:
Bull Flag Pattern เกิดขึ้นหลังจากที่ราคาปรับตัวสูงขึ้นอย่างรุนแรง จากนั้นพักตัวโดยเคลื่อนไหวลงในกรอบแคบ ก่อนจะทะลุกรอบด้านบนและกลับเข้าสู่แนวโน้มขาขึ้นเดิม ซึ่งตัวธงมักเอียงลงเล็กน้อย แสดงถึงการพักฐานก่อนที่จะเกิดแรงซื้อรอบใหม่
Bear Flag Pattern เกิดขึ้นหลังจากที่ราคาปรับตัวลดลงอย่างรวดเร็ว แล้วพักตัวโดยเคลื่อนไหวขึ้นในกรอบแคบ ก่อนจะทะลุกรอบด้านล่างและกลับเข้าสู่แนวโน้มขาลงต่อ ตัวธงมักเอียงขึ้นเล็กน้อย เป็นการรีบาวด์ชั่วคราวก่อนจะเกิดแรงขายอีกครั้ง
Flag Pattern แสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมและจิตวิทยาของนักลงทุนในตลาดได้อย่างชัดเจน โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่ตลาดอยู่ในภาวะ “ลังเล” หรือ “รอดูท่าที” หลังจากที่ราคามีการเคลื่อนไหวรุนแรงในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง นักลงทุนจำนวนมากมักจะเลือก ชะลอการซื้อขาย เพื่อรอดูว่าทิศทางของตลาดจะยืนยันแนวโน้มเดิมหรือไม่
ปริมาณการซื้อขาย หรือ การเทรด Momentum มักจะลดลงอย่างเห็นได้ชัด แสดงถึงความไม่แน่ใจของตลาด แต่ก็เป็นช่วงเวลาสำคัญที่ผู้เล่นรายใหญ่หรือสถาบันอาจกำลังรอจังหวะเข้าซื้อหรือขายรอบใหม่ เมื่อราคาทะลุกรอบตัวธงออกไปในทิศทางเดียวกับแนวโน้มเดิม มักจะมาพร้อมกับวอลุ่มที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
นักเทรดสามารถใช้ กราฟ Flag Pattern Forex ได้ง่ายๆ เพียงแค่เข้าใจโครงสร้างของรูปแบบ เพื่อวางแผนการเข้า–ออกออเดอร์ได้อย่างเหมาะสม มีขั้นตอนหลัก ๆ ดังนี้:
ก่อนจะพิจารณาว่ารูปแบบ Flag กำลังก่อตัวหรือไม่ ควรเริ่มต้นจากการดูแนวโน้มหลักที่เกิดขึ้นก่อนหน้าอย่างชัดเจน ซึ่งราคาจะต้องมีการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง เช่น ขาขึ้นรุนแรง หรือขาลงรุนแรง ซึ่งแสดงถึงแรงซื้อหรือแรงขายที่มีพลังมากพอในการสร้างเสาธง
หลังจากแนวโน้มหลักเกิดขึ้นแล้ว ราคาจะมีการพักตัวราคา ผู้เทรดควรวาดเส้นแนวรับและแนวต้าน ที่ครอบคลุมกรอบราคานี้ เพื่อให้เห็นโครงสร้างของตัวธงชัดเจนมากขึ้น กรอบราคานี้มักจะมีลักษณะเป็นเส้นขนาน หรือสามเหลี่ยมแคบ ๆ ซึ่งบ่งบอกถึงการสะสมพลังของตลาดในช่วงเวลาสั้น ๆ
นักเทรดควรรอให้เกิดการ ระบุตำแหน่ง Breakout Flag (ไม่ว่าจะด้านบนหรือด้านล่าง ขึ้นอยู่กับประเภทของ Flag) ซึ่งถือเป็นจุดที่แนวโน้มเดิมกำลังจะกลับมา การเบรกเอาท์ที่น่าเชื่อถือควรมาพร้อมกับ ปริมาณการซื้อขายที่เพิ่มขึ้น เพื่อยืนยันว่าตลาดพร้อมเคลื่อนไหวในทิศทางนั้นอย่างจริงจัง
เมื่อเกิดการเบรกเอาท์ สามารถเข้าออเดอร์ตามทิศทางแนวโน้ม และควรกำหนดจุด Stop Loss ไว้ใต้แนวรับ (ในกรณี Bullish) หรือเหนือแนวต้าน (ในกรณี Bearish) เป็นการจัดการความเสี่ยง จุด Take Profit สามารถประเมินได้จากความยาวของเสาธง เพื่อคาดการณ์ระยะทางที่ราคาน่าจะเคลื่อนไหวต่อ
แม้ว่า Flag Pattern จะเป็นรูปแบบที่ได้รับความนิยมในการวิเคราะห์กราฟแท่งเทียน แต่ก็มีรูปแบบอื่น ๆ ที่มีลักษณะคล้ายกัน ทำให้นักเทรดมือใหม่อาจสับสนได้ เช่น Pennant, Wedge และรูปแบบกราฟอื่น ๆ ที่มีความใกล้เคียงกัน ดังนี้:
Pennant เป็นรูปสามเหลี่ยมเล็ก ๆ ที่เกิดจากเส้นแนวรับและแนวต้านที่มาบรรจบกัน มีลักษณะกรอบราคาที่แคบลงเรื่อย ๆ จนเส้นแนวรับและแนวต้านบรรจบกันเป็นรูปสามเหลี่ยม ส่วน Flag จะมีกรอบราคาขนานกัน (Parallel Lines) มักเกิดขึ้นหลังการเคลื่อนไหวรุนแรงและเป็นรูปแบบพักตัวก่อนราคาจะวิ่งต่อ แต่ Pennant มักบ่งบอกความไม่แน่นอนที่ลดลงเรื่อย ๆ มากกว่า
Wedge เป็นรูปแบบที่เส้นแนวรับและแนวต้านทั้งสองเส้นเอียงเข้าหากัน แต่ในลักษณะที่ไม่ขนานกัน มักจะบ่งบอกการกลับตัวของแนวโน้มหรือการหยุดพักที่อาจจบลงด้วยการกลับทิศทาง ส่วน Flag เป็นรูปแบบพักตัวที่มีแนวโน้มจะต่อเนื่องในทิศทางเดิม Wedge มักให้สัญญาณการกลับตัวหรือการหยุดพักในขณะที่ Flag เป็นสัญญาณพักตัวแล้ววิ่งต่อ
Flag Pattern แสดงให้จุดเข้าเทรดที่ชัดเจน ช่วยให้นักเทรดสามารถระบุจุดเข้าเทรดได้อย่างแม่นยำ เมื่อราคาทะลุกรอบตัวธงออกไปในทิศทางแนวโน้มเดิม ทำให้ลดความเสี่ยงจากการเข้าเทรดในช่วงที่ตลาดยังไม่ชัดเจน
เหมาะกับการเทรดในตลาดที่มีแนวโน้มชัดเจน รูปแบบนี้ทำงานได้ดีในตลาดที่มีแรงซื้อหรือแรงขายเข้มข้น และเป็นเครื่องมือที่ช่วยยืนยันแนวโน้มเดิมก่อนการเคลื่อนไหวต่อเนื่อง
เข้าใจง่ายและนำไปใช้ได้เร็ว เพราะมีโครงสร้างที่ชัดเจนและรูปแบบง่าย ๆ ทำให้มือใหม่สามารถเรียนรู้และประยุกต์ใช้ได้อย่างรวดเร็ว
อาจเกิดสัญญาณหลอก หากไม่มีการยืนยันด้วยปริมาณการซื้อขายที่เพิ่มขึ้น การทะลุกรอบตัวธงอาจเป็นแค่การแกว่งตัวชั่วคราว ทำให้นักเทรดเข้าออเดอร์ผิดจังหวะและขาดทุนได้
ไม่เหมาะกับตลาดที่ไม่มีแนวโน้มชัดเจน ช่วงตลาด Sideways หรือไม่มีทิศทางที่ชัดเจน Flag Pattern อาจเกิดขึ้นบ่อยแต่ไม่สามารถนำไปใช้งานได้อย่างแม่นยำ
นักเทรดต้องมีวินัยในการรอราคาเบรกออกจากกรอบตัวธงก่อนเข้าเทรด ต้องใช้ความอดทนรอจังหวะเบรกเอาท์ ซึ่งบางครั้งอาจทำให้พลาดโอกาสในระยะสั้นได้
Flag Pattern คือ รูปแบบกราฟที่มีโครงสร้างชัดเจน เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์สำหรับนักเทรดในการหาจุดเข้าเทรดที่แม่นยำ โดยเฉพาะในตลาดที่มีแนวโน้มชัดเจน รูปแบบนี้ช่วยให้นักเทรดสามารถจับจังหวะการพักตัวและการต่อเนื่องของแนวโน้มได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม ควรใช้การยืนยันร่วมกับปริมาณการซื้อขายและรอให้เกิดการเบรกเอาท์อย่างชัดเจนก่อนเข้าเทรด
เปิดบัญชีและเริ่มต้นเลย
Bullish Flag คือ รูปแบบกราฟที่เกิดขึ้นเมื่อราคามีแนวโน้มขาขึ้นอย่างรวดเร็ว (เสาธง) ตามด้วยช่วงพักตัวที่ราคาขยับลงเล็กน้อยในกรอบแคบ (ตัวธง) ก่อนจะทะลุขึ้นไปต่อเนื่อง เป็นสัญญาณว่าราคาจะยังคงขึ้นต่อไป
Flag หมายถึง รูปแบบกราฟราคาในช่วงพักตัวของราคาที่เคลื่อนไหวในกรอบแคบระหว่างเส้นขนาน เป็นส่วนหนึ่งของ Flag Pattern ที่เกิดหลังจากช่วงราคาวิ่งแรง (เสาธง)
Price Pattern หรือ รูปแบบกราฟราคามีหลายประเภทหลัก ๆ เช่น Flag, Pennant, Wedge, Head and Shoulders, Double Top และ Double Bottom เป็นต้น แต่ละแบบช่วยบ่งบอกพฤติกรรมราคาที่แตกต่างกัน
รูปแบบกราฟที่บ่งบอกถึงแนวโน้มขาขึ้น เช่น Bullish Flag, Cup and Handle, Ascending Triangle และ Double Bottom เป็นต้น แสดงถึงโอกาสที่ราคาจะปรับตัวสูงขึ้น
Bearish Flag คือ รูปแบบกราฟที่เกิดขึ้นเมื่อราคาปรับตัวลดลงอย่างรวดเร็ว (เสาธง) ตามด้วยช่วงพักตัวที่ราคาขยับขึ้นเล็กน้อยในกรอบแคบ (ตัวธง) ก่อนจะทะลุลงไปต่อเนื่อง
จุดเข้าซื้อขายที่เหมาะสม คือ เมื่อราคาทะลุกรอบตัวธงออกไปในทิศทางเดียวกับแนวโน้มเดิม (Breakout) และควรมีปริมาณซื้อขายเพิ่มขึ้นเพื่อยืนยันสัญญาณนั้น
SEO Content Writer
อิสสริยา ดวงเนตร เป็นนักเขียนคอนเท้นต์ SEO ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เชี่ยวชาญด้านการให้ความรู้ เรื่องตลาดเทรด และ การลงทุน เน้นสไตล์การเขียนที่อ่านง่าย เข้าใจง่าย และเนื้อหาความรู้จัดเต็ม พร้อมกับการผสมผสานเทคนิค SEO ที่ช่วยให้ผู้อ่านค้นหาบทความได้ง่าย อย่าลืมติดตามกันนะคะ
เนื้อหาในเอกสารหรือภาพนี้ประกอบด้วยความคิดเห็นและแนวคิดส่วนบุคคล ซึ่งอาจไม่สอดคล้องกับความคิดเห็นของบริษัท ข้อมูลในที่นี้ไม่ควรตีความว่าเป็นคำแนะนำด้านการลงทุนใดๆ และ/หรือการชักชวนให้ทำธุรกรรมใดๆ ไม่มีการแสดงถึงข้อผูกพันในการซื้อบริการการลงทุน และไม่รับประกันหรือคาดการณ์ผลการดำเนินงานในอนาคต บริษัท XS บริษัทในเครือ ตัวแทน กรรมการ เจ้าหน้าที่ หรือพนักงาน ไม่รับประกันห้วงเวลา ความสมบูรณ์หรือความถูกต้องของข้อมูลหรือข้อมูลใดๆที่มีให้ และไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสียใดๆที่เกิดจากการลงทุนตามข้อมูลดังกล่าวแพลตฟอร์มของเราอาจไม่มีผลิตภัณฑ์หรือบริการทั้งหมดที่กล่าวถึง