@livewireStyles
Logo
หน้าหลัก     บทความ     Pe คือ อะไร

หุ้น

PE คืออะไร? เคล็ดลับเลือกหุ้นทำเงิน ด้วย PE Ratio

เขียนโดย Itsariya Doungnet

อัปเดตแล้ว 26 พฤษภาคม 2025

pe-คือ
สารบัญ

    P/E คือ อะไร และสามารถบอกอะไรคุณได้บ้าง? ทำไมนักลงทุนหุ้นจำเป็นต้องรู้? ในบทความนี้เราจะพาคุณไปทำความเข้าใจ ความหมาย PE และ P/E Ratio ที่คุณจำเป็นต้องรู้ ในการคำนวณ เพื่อเลือกหุ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมข้อควรระวัง พื้นฐานการลงทุนในหุ้น ที่หลายคนมักจะมองข้ามเพื่อให้คุณสามารถใช้เครื่องมือนี้ได้อย่างมั่นใจ

    สาระสำคัญ

    • P/E คือ ตัวชี้วัดว่าหุ้น "แพง" หรือ "ถูก" เมื่อเทียบกับกำไรของบริษัท ยิ่งค่า P/Eต่ำ (ถ้ากำไรมั่นคง) ยิ่งน่าสนใจสำหรับนักลงทุนสายพื้นฐาน

    • การดูว่า P/E ของหุ้นสูงหรือต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรมจะช่วยให้คุณประเมินได้ว่าหุ้นนั้นยัง “คุ้มค่า” หรือเริ่ม “แพง” ไปแล้ว เช่น หุ้นธนาคารมักมี P/E ต่ำกว่าหุ้นเทคโนโลยี

    • การใช้ P/E ร่วมกับอัตราส่วนอื่นอย่าง ROE, ROA หรือ P/BV จะช่วยให้วิเคราะห์หุ้นได้รอบด้านและแม่นยำยิ่งขึ้น รวมถึงการเปรียบเทียบค่า P/E

    ทอลองใช้บัญชีเดโม่โดยไม่มีความเสี่ยง

    ลงทะเบียนบัญชีเดโม่ฟรีและปรับกลยุทธ์การเทรดของคุณ

    เปิดบัญชีโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

    P/E คือ ?

    ความหมายของ P/E หรือ Price-to-Earnings Ratio เป็นเครื่องมือชี้วัด อัตราส่วนราคาต่อกำไร (P/E Ratio) ที่เหมาะกับการลงทุนระยะยาวมากกว่าการเทรดหุ้น PE คือ เครื่องมือที่ทำให้คุณสามารถรู้ได้ว่า หุ้นตัวนั้นแพงหรือถูก เมื่อเทียบกับผลกำไรของบริษัท ตามนี้:

    • ค่า P/E สูงคืออะไร: หาก P/E สูง หมายความว่า บริษัทจะเติบโตต่อไปในอนาคต

    • ค่า P/E ต่ำคืออะไร: หาก P/E ต่ำ หมายความว่า บริษัทอาจจะมีความเสี่ยง หรือ หุ้นยังไม่ได้เป็นที่น่าสนใจ แต่อาจจะยังมีโอกาสในการลงทุน

     

    หมวดหมู่หุ้นกับค่า P/E คือ อะไรบ้าง?

    หุ้นแต่ละประเภทมีลักษณะการเติบโตและมูลค่าที่แตกต่างกัน การประเมินมูลค่าหุ้น จะช่วยให้เรา ตีความค่า P/E ได้แม่นยำมากขึ้น

    หมวดหมู่หุ้น-กับค่า-PE-คือ-อะไรบ้าง

    หุ้นมูลค่า (Value Stocks)

    หุ้นกลุ่มที่มีราคาต่ำกว่ามูลค่าที่ควร มักจะมีค่า P/E ต่ำ เพราะนักลงทุนยังไม่ให้ความสนใจมาก หรือบริษัทอาจเพิ่งผ่านช่วงขาดทุนมา หากบริษัทฟื้นกำไรกลับมาได้ หุ้นก็จะมีโอกาสปรับราคาขึ้นแรง เหมาะกับนักลงทุนที่ต้องการหุ้นราคาถูก แต่มีโอกาสเติบโตในอนาคต เช่น หุ้นกลุ่มธนาคาร, พลังงาน หรือสื่อสาร เป็นต้น 

     

    หุ้นเติบโต (Growth Stocks)

    หุ้นกลุ่มนี้มักจะมีค่า P/E สูง เพราะเป็นกลุ่มบริษัทที่มีการเติบโตเร็ว และมีศักยภาพการเติบโตสูงในอนาคต ซึ่งการลงทุนกลุ่มนี้จะเหมาะสำหรับนักลงทุนที่พร้อมจ่ายแพง เพื่อแลกกับผลตอบแทนที่สูงในอนาคต เหมาะสำหรับนักลงทุนที่รองรับความเสี่ยงสูงได้ หรือผู้ที่ต้องการ ลงทุนระยะยาวกับค่า P/E หุ้นกลุ่มนี้ ก็มี กลุ่มเทคโนโลยี และ อีคอมเมิร์ซ เป็นต้น

     

    ทำไม P/E คือ สิ่งที่สำคัญ?

    ค่า P/E คือ เครื่องมือ อัตราส่วนทางการเงิน สะท้อนความคาดหวังของตลาดหุ้น ที่สามารถบอกได้ว่าหุ้นที่คุณกำลังจะเลือกลงทุนคุ้มหรือไม่ ช่วยให้คุณตัดสินใจได้แม่นยำมากขึ้น เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับหุ้นตัวอื่นๆ ในกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกัน หรือเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยในอดีตของบริษัทที่คุณสนใจ

    ทำไม-PE-คือ-สิ่งที่สำคัญ

    P/E ช่วยวิเคราะห์ว่าหุ้นแพงหรือถูก

    P/E กับกำไรสุทธิ สามารถบ่งบอกได้ว่า หุ้นนี้มีความคุ้มค่ากับราคาหรือไม่ แล้วคุณจะได้กำไรประมาณเท่าไหร่จากราคาที่ได้ลงทุนไปในช่วงเวลานั้นๆ หาก P/E สูง ก็แสดงความ หุ้นเติบโต หรือ มีโอกาสเติบโตในอนาคต แต่หาก P/E ต่ำ ก็อาจจะเป็นโอกาสสำหรับนักลงทุนสายพื้นฐานที่ต้องการความเสี่ยงต่ำ

     

    P/E ประเมินความคุ้มค่าระยะยาว

    สำหรับผู้ที่ต้องการลงทุนระยะยาว การตรวจสอบแค่หุ้นอย่างเดียวคงไม่พอ จำเป็นจะต้องตรวจสอบว่าเราได้กำไรจริงหรือไม่ เหมาะกับการลงทุนในระยะยาวไหม ซึ่ง P/E ก็จะแสดงให้เห็นส่วนต่างระหว่างกำไรที่่ได้รับกับราคาที่จ่าย หาก P/E Ratio ในการลงทุน ต่ำกว่าราคาเฉลี่ย ก็หมายความว่า ยังไม่สามารถประเมินการเติบโตได้อย่างแท้จริง

     

    P/E คือ ค่าที่ใช้เปรียบเทียบในกลุ่มเดียวกัน

    P/E กับราคาหุ้น ก็เป็นเครื่องมือที่สามารถใช้เปรียบเทียบกับหุ้นกลุ่มธุรกิจเดียวกันได้ เช่น กลุ่มพลังงาน, กลุ่มธนาคาร หรือจะเป็น กลุ่มเทคโนโลยี หากมีหุ้น 2 ตัว ที่คล้ายกัน ก็ให้ตรวจสอบหุ้นมูลค่าของ P/E ว่า หุ้นตัวไหนต่ำกว่า หรือ ถูกกว่า เพื่อพิจารณา P/E ต่ำกว่า แต่กำไรดี ก็อาจจะเป็นหุ้นตัวที่ดีที่สุดสำหรับการลงทุน

     

    ประเภทของ P/E ที่นักลงทุนควรรู้

    P/E แบบเทรลลิ่งและฟอร์เวิร์ด มีการนำไปใช้และตีความแตกต่างกัน การรู้ค่า P/E มาจากกำไรประเภทไหน มีข้อดีการใช้งานอย่างไร เราตามมาดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้เลย

    PE-แบบเทรลลิ่ง-และ-ฟอร์เวิร์ด

    ประเภท Trailing P/E

    Trailing P/E คือ การคำนวณจาก กำไรสุทธิของบริษัทในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา (ย้อนหลัง) เป็นค่าที่เกิดคุณจริงจากผลประกอบการ ที่ไม่ขึ้นกับการคาดการณ์ ถือเป็นข้อมูลที่มีความแม่นยำ การวิเคราะห์หุ้นด้วย P/E เหมาะสำหรับการวิเคราะห์บริษัทที่มีผลประกอบการสม่ำเสมอ แต่นี่อาจจะไม่ได้สะท้อนให้เห็นผลลัพธ์ที่จะเกิดชึ้นในอนาคต โดยเฉพาะช่วงที่กิจการเติบโตเร็ว

     

    ประเภท Forward P/E

    Forward P/E คือ กำไรที่คาดการณ์ไว้ในอนาคต ซึ่งนักวิเคราะห์จะมีการคิดคำนวณว่าบริษัทจะทำกำไรได้เท่าไหร่ในปีหน้า เพื่อให้เห็นอนาคตของบริษัท ในการประกอบการตัดสินใจลงทุน แต่นี่ก็อาจจะเป็นเพียงการคาดการณ์เท่านั้น อาจจะไม่เป็นไปตามที่คาดหวังเสมอไป

     

    ประเมินมูลค่าหุ้นด้วย P/E Ratio

    การใช้ค่า P/E Ratio เพื่อประมูลค่าหุ้น และดัชนีตลาดหลักทรัพย์ ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เพราะเข้าใจง่าย และช่วยให้คุณรู้ว่า หุ้นที่คุณสนใจอยู่ คุ้มค่า หรือ แพงเกินไป เมื่อเทียบกับกำไรบริษัท แนวคิดหลักของ P/E คือ การเปรียบเทียบ P/E ของบริษัท ระหว่าง สิ่งที่คุณจ่าย กับ สิ่งที่คุณคาดว่าจะได้รับ

     

    ราคาหุ้น คือ สิ่งที่คุณจ่าย

    ราคาหุ้นที่เราเห็นในกระดาน เป็นผลจากความคาดหวังหรือ แนวโน้มของอุตสาหกรรมและค่า P/E ต่ออนาคตของบริษัท หากตลาดเชื่อว่าบริษัทจะเติบโตมากในอนาคต ราคาหุ้นก็จะสูงขึ้น แม้กำไรปัจจุบันจะยังไม่มากก็ตาม นี่คือเหตุผลว่าทำไมหุ้นบางตัวจึงมี P/E สูง เพราะนักลงทุนกำลัง “จ่ายแพง” เพื่อซื้อความหวังในอนาคต

     

    กำไร คือ สิ่งที่คุณ (คาดว่า) จะได้รับ

    กำไร คือ ผลตอบแทนที่แท้จริงที่ผู้ถือหุ้นจะได้รับ ซึ่งนี่หมายถึงกำไรสุทธิ ยิ่งบริษัททำกำไรได้ดี ค่า P/E จะยิ่งลดลง ถ้าราคาหุ้นยังไม่ขยับขึ้น หมายความว่าเราจ่ายในราคาถูก แต่ได้ผลตอบแทนที่มากขึ้น เป็นสัญญาณของหุ้นที่ "คุ้มค่า" ที่น่าจับตา

     

    สูตรการคำนวณ P/E และ EPS:

     

    P/E Ratio = ราคาหุ้น ÷ กำไรต่อหุ้น (EPS)

    ตัวอย่าง:

    ถ้าราคาหุ้นคือ 50 บาท และ EPS เท่ากับ 5 บาท  P/E = 50 ÷ 5 = 10 เท่า หมายความว่า นักลงทุนกำลังจ่าย 10 บาท เพื่อซื้อกำไร 1 บาทของบริษัท

     

    หุ้น P/E ต่ำ ควรลงทุน หรือต้องระวัง

    แม้ว่า หุ้นที่มี P/E ต่ำจะดูน่าดึงดูด แต่ต้องระวัง เพราะอาจเป็นกับดักที่เรียกว่า Value Trap คือ หุ้นที่ดูเหมือนถูก แต่จริง ๆ แล้วพื้นฐานไม่ดี เช่น กำไรผันผวนสูง มีประวัติขาดทุน หรือธุรกิจอยู่ในช่วงขาลง การลงทุนในหุ้นแบบนี้อาจเสี่ยงมากกว่าที่คิด ควร วิเคราะห์หุ้นเบื้องต้น อื่นๆ ประกอบเสมอ

     

    ค่า P/E ที่ “เหมาะสม” อยู่ตรงไหน?

    การใช้ P/E ในตลาดหุ้นไทย ไม่มีค่า P/E ที่ตายตัวว่าดีหรือแย่ เพราะแต่ละอุตสาหกรรมมีธรรมชาติธุรกิจต่างกัน ตัวเลข P/E คือ ตัวเลขที่คำนวณจากการเปรียบเทียบภายในกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกัน

    • ตลาดหุ้นไทยโดยเฉลี่ย: 10–20 เท่า

    • กลุ่มธนาคาร: 8–12 เท่า (รายได้คงที่ กำไรสม่ำเสมอ)

    • กลุ่มเทคโนโลยี: 20–30 เท่าหรือมากกว่า (เติบโตเร็ว ความคาดหวังสูง)

    ถ้าหุ้นตัวหนึ่งมี P/E สูงกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่ม อาจสะท้อนการเติบโต หรือความเสี่ยงเพิ่มขึ้น ขณะที่ P/E ต่ำกว่ากลุ่ม ก็ต้องดูว่าต่ำเพราะถูกมองข้าม หรือเพราะธุรกิจมีปัญหา

     

    วิธีหามูลค่าหุ้นเป้าหมายด้วย P/E Ratio

    ดูค่าพีอีอย่างไร ? คุณสามารถคำนวณ “ราคาเป้าหมาย” ได้ ด้วยสูตร:

     

    ราคาเป้าหมาย = EPS คาดการณ์ × P/E เป้าหมาย

     

    ตัวอย่าง การคำนวณ P/E:

    ถ้าคาดว่า EPS ปีหน้าจะอยู่ที่ 3 บาท และให้ค่า P/E เป้าหมาย 15 เท่า

    ราคาเป้าหมาย = 3 × 15 = 45 บาท

    แปลว่า ถ้าบริษัททำกำไรได้ตามคาด ราคาหุ้นอาจมีโอกาสปรับขึ้นไปที่ 45 บาท ซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญในการตัดสินใจว่าจะ “ซื้อ ถือ หรือขาย”

     

    ความแตกต่างระหว่างค่า P/E สูงและต่ำ

    ค่า P/E ต่ำ

    ค่า P/E สูง

    หุ้นอาจถูก (ถ้ากำไรมั่นคง)

    หุ้นอาจแพง (แต่โตเร็ว)

    เสี่ยงน้อย ถ้าธุรกิจมั่นคง

    เสี่ยงสูง ถ้ากำไรไม่เป็นไปตามคาด

    เหมาะกับนักลงทุนสายมูลค่า

    เหมาะกับนักลงทุนสายเติบโต

     

    ข้อควรระวังในการใช้ค่า P/E

    การใช้งาน P/E มี ความเสี่ยงของการใช้ค่า P/E เช่นกัน เพราะนี่อาจจะไม่สามารถใช้ได้สำหรับทุกสถานการณ์ ซึ่งคุณจำเป็นจะต้องใช้ปัจจัยอื่นๆ ร่วมด้วย เพราะฉะนั้นแล้วเรามาดูกันเลยว่า สิ่งที่ควรระวังในการใช้งาน P/E มีอะไรบ้าง:

     

    อย่าดูแค่ตัวเลข P/E เพียงอย่างดี

    บางคนเห็น หุ้นที่มีค่า P/E ต่ำ ก็อาจจะรีบเข้าซื้ เพราะคิดว่านี่คือ จุดที่ราคาถูกแล้วจริง แต่อันที่จริงแล้วอาจจะเป็นเพราะบริษัทกำลังมีปัญหา เช่น ธุรกิจตกยุค รายได้ลดลง หรือมีหนี้สูง หากกำไรลดลงต่อเนื่อง สุดท้ายราคาหุ้นก็อาจไม่ไปไหน หรือแย่กว่านั้น คือลงต่อ ในขณะเดียวกัน หุ้นที่มีค่า P/E สูง ก็ไม่ได้แปลว่าแพงเสมอไป ควรตรวจสอบภาพรวมของธุรกิจ

     

    ต้องดูคุณภาพของกำไรด้วย

    ค่า P/E คือ อัตราส่วนที่น่าเชื่อถือได้ ก็ต่อเมื่อ กำไร (EPS) ที่ใช้คำนวณ เป็นกำไรจริงจากการดำเนินธุรกิจหลัก ไม่ใช่ "กำไรพิเศษ" ที่เกิดขึ้นแค่ครั้งเดียว เช่น ขายที่ดิน ขายบริษัทลูก หรือลดภาษีชั่วคราว เพราะกำไรแบบนั้นไม่สามารถเกิดซ้ำได้ในปีต่อ ๆ ไป ซึ่งกำไรพิเศษนี้ อาจหลอกตาให้คิดว่าหุ้นถูก ทั้งที่จริงไม่ได้มีความสามารถในการทำกำไรระยะยาว

     

    บริษัทที่ขาดทุน จะไม่มีค่า P/E ที่ใช้ได้

    ถ้าบริษัทขาดทุนในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ค่า EPS จะเป็นศูนย์หรือติดลบ ทำให้ไม่สามารถคำนวณ P/E ได้ หรือได้ค่า P/E ที่เป็นลบ ซึ่งไม่มีความหมายในการเปรียบเทียบ เพราะ “ราคาหุ้นที่เราจ่าย” ไม่มีผลตอบแทน (กำไร) กลับมา กรณีนี้ นักลงทุนควรเปลี่ยนไปใช้ กลยุทธ์การเลือกหุ้นด้วย P/E  อื่น เช่น P/BV (ราคาต่อมูลค่าทางบัญชี) หรือ EV/EBITDA แทน

     

    อัตราส่วน ROE, ROA, และ P/BV ทำงานยังไง กับ P/E?

    อัตราส่วน ROE, ROA, และ P/BV ช่วยยืนยันจากค่า P/E Ratio ที่ช่วยให้คุณสามารถวิเคราะห์หุ้นได้ลึกและรอบด้านมากยิ่งขึ้น เรามาดูกันเลยว่าอัตราส่วนทำงานร่วมกับค่า PE อย่างไร

    อัตราส่วน-ROE

     

    ROE (Return on Equity)

    ผลตอบแทนผู้ถือหุ้น คือ อัตราผลตอบแทนที่บริษัทสร้างได้จากเงินทุนของผู้ถือหุ้น หาก ROE สูง บ่งบอกว่าบริษัทใช้ทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ มักดึงดูดนักลงทุน ส่งผลให้ราคาหุ้นสูงขึ้น ซึ่งเมื่อราคาหุ้นสูงขึ้นเร็วกว่ากำไร ค่า P/E ก็จะสูงตาม

    อัตราส่วน-ROA

     

    ROA (Return on Assets)

    ผลตอบแทนจากสินทรัพย์ คือ วัดว่าบริษัทใช้ "ทรัพย์สินทั้งหมด" ได้คุ้มค่าแค่ไหนในการสร้างกำไร ROA ช่วยยืนยันคุณภาพของกำไรที่ใช้คำนวณ P/E ถ้าบริษัทมี P/E ต่ำ แต่ ROA ต่ำด้วย อาจเป็นธุรกิจที่ไม่มีประสิทธิภาพ

    อัตราส่วน-P-BV

     

    P/BV (Price to Book Value)

    ราคาต่อมูลค่าทางบัญชี คือ เปรียบเทียบ “ราคาหุ้น” กับ “มูลค่าทางบัญชีต่อหุ้น (Book Value)”

    • ถ้า P/E ต่ำ และ P/BV ต่ำ หุ้นนั้นอาจยังไม่ได้รับความสนใจจากตลาด แต่ต้องดูว่าเป็นเพราะกำไรตกต่ำ หรือบริษัทมีทรัพย์สินที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้หรือไม่

    • ส่วนหุ้นที่มี P/E สูง และ P/BV สูง นักลงทุนกำลังจ่ายแพงทั้งจากมุมกำไรและมูลค่าทางบัญชี หมายความว่า หุ้นนี้มีความเชื่อมั่นสูงว่าบริษัทจะโตต่อไป

     

    เคล็ดลับการใช้ P/E เพื่อการที่แม่นยำยิ่งขึ้น

    ไม่ว่าคุณจะเป็นมือใหม่หรือมืออาชีพในการใช้งาน P/E ก็ไม่ควรพลาด เคล็ดลับ การอ่านงบการเงินเบื้องต้น P/E เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพได้มากยิ่งขึ้น

     

    เปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยในกลุ่มอุตสาหกรรม

    การดูว่า P/E ของหุ้น ที่เราสนใจ อยู่ในระดับใด เมื่อเทียบกับหุ้นในกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกัน เป็นวิธีง่าย ๆ ที่ช่วยให้เรารู้ว่าหุ้นตัวนั้น "ถูกหรือแพง" กว่าค่าเฉลี่ยกลุ่ม

    เช่น หุ้นกลุ่มธนาคารมักมี P/E เฉลี่ยอยู่ที่ 8–12 เท่า ขณะที่หุ้นกลุ่มเทคโนโลยี มักมี P/E สูงถึง 20–30 เท่า เพราะนักลงทุนคาดหวังการเติบโตมากกว่า หากเราพบหุ้นที่มี P/E ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยกลุ่มอย่างชัดเจน ก็อาจเป็นสัญญาณว่าหุ้นนั้นถูก หรืออาจมีปัญหาบางอย่างที่ตลาดกังวล ซึ่งเราควรศึกษาต่อให้ลึก

     

    ใช้ร่วมกับ PEG Ratio เพื่อดูการเติบโต

    P/E เพียงอย่างเดียว ไม่สามารถบอกได้ว่าหุ้นถูกหรือแพงเกินไป หากไม่ได้พิจารณาร่วมกับศักยภาพในการเติบโตของบริษัท ดังนั้นการใช้ PEG Ratio ซึ่งคือ การนำค่า P/E ไปหารกับอัตราการเติบโตของกำไร จะช่วยให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น

    เช่น ถ้าบริษัทมี P/E 20 เท่า แต่คาดว่ากำไรจะโตปีละ 30% ค่า PEG จะเท่ากับ 0.67 ซึ่งถือว่าน่าสนใจมาก เพราะเราจ่ายไม่แพง เมื่อเทียบกับการเติบโตในอนาคต ในทางตรงกันข้าม ถ้า PEG เกิน 1.5–2 อาจแปลว่าเรากำลังจ่ายแพงเกินไป สำหรับการเติบโตที่จำกัด

     

    เปรียบเทียบกับ P/E ย้อนหลังของบริษัทเอง

    การเปรียบเทียบ P/E คือ ค่าปัจจุบันกับค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 3–5 ปีของบริษัท จะช่วยให้เรารู้ว่าหุ้นตัวนี้ถูกหรือแพงกว่าจากในอดีต หากบริษัทเคยมี P/E เฉลี่ยอยู่ที่ 18 เท่า แต่ปัจจุบันลดลงเหลือ 12 เท่า และปัจจัยพื้นฐานยังไม่ได้แย่ลง อาจสะท้อนโอกาสในการลงทุน อย่างไรก็ตาม หาก P/E ต่ำลงเพราะบริษัทเริ่มมีปัญหา เช่น รายได้หดตัว หรือกำไรลดลงต่อเนื่อง ก็ควรระวังไว้ด้วย

     

    สรุป P/E มีผลอย่างไรกับตลาดหุ้นไทย ปี 2025

    ตลาดหุ้นไทย ปี 2025 ยังเผชิญความผันผวนจากเศรษฐกิจโลก และนโยบายการเงิน ค่า P/E คือ เครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้นักลงทุนเลือกหุ้นได้อย่างมีเหตุผล ไม่ใช่แค่ตามกระแส ทั้งนี้แล้วอย่าลืมตรวจสอบ วันหยุดตลาดหุ้น 2025 ด้วยเช่นกัน การเข้าใจและใช้ P/E อย่างถูกต้องจะช่วยสร้างโอกาสในการทำกำไร พร้อมลดความเสี่ยงในการตัดสินใจผิดพลาด แน่นอนว่าคุณยังสามารถเลือกใช้ร่วมกับอัตราส่วนอื่นๆ ได้ด้วย เช่น ROE, ROA, และ P/BV เป็นต้น

    พร้อมสำหรับก้าวต่อไปในการซื้อขายหรือยัง?

    เปิดบัญชีและเริ่มต้นเลย

    รับสิทธิ์เข้าถึงฟรี
    สารบัญ

      คำถามที่พบบ่อย

      ค่า P/E คือ ราคาหุ้นต่อกำไรต่อหุ้น เป็นตัวชี้วัดว่าราคาหุ้นในปัจจุบันแพงหรือถูกเมื่อเทียบกับกำไรของบริษัท นักลงทุนจะรู้ว่ากำลังจ่ายเงินกี่บาท เพื่อซื้อกำไร 1 บาทของบริษัทนั้น

      ค่า P/E สูงไม่ได้แปลว่า หุ้นไม่ดีเสมอไป เพราะอาจเกิดจากความคาดหวังการเติบโตในอนาคต แต่หากสูงเกินไปเมื่อเทียบกับกลุ่มอุตสาหกรรม อาจสะท้อนว่าหุ้นแพงเกินพื้นฐานและเสี่ยงต่อการปรับฐานราคา

       

      Forward P/E ใช้กำไรที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ล่วงหน้าในการคำนวณ แทนที่จะใช้กำไรย้อนหลัง เหมาะสำหรับดูแนวโน้มอนาคตของบริษัท

      EPS หรือ กำไรต่อหุ้น คำนวณโดยนำกำไรสุทธิของบริษัทมาหาร ด้วยจำนวนหุ้นสามัญที่มีอยู่ในตลาด เป็นตัวบ่งชี้ว่าบริษัททำกำไรได้เท่าไหร่ต่อหุ้นหนึ่งหน่วย

      P/E แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่ Trailing P/E ที่ใช้ข้อมูลกำไรย้อนหลัง 12 เดือน และ Forward P/E ที่ใช้ข้อมูลกำไรที่คาดการณ์ในอนาคต

      การตรวจ P/E คือ การเช็กว่าราคาหุ้นของบริษัทแพงหรือถูก สามารถเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยของกลุ่มอุตสาหกรรม ค่า P/E ย้อนหลัง หรือกับคู่แข่ง เพื่อประเมินโอกาสการลงทุนอย่างรอบด้าน

      Itsariya Doungnet

      Itsariya Doungnet

      SEO Content Writer

      อิสสริยา ดวงเนตร เป็นนักเขียนคอนเท้นต์ SEO ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เชี่ยวชาญด้านการให้ความรู้ เรื่องตลาดเทรด และ การลงทุน เน้นสไตล์การเขียนที่อ่านง่าย เข้าใจง่าย และเนื้อหาความรู้จัดเต็ม พร้อมกับการผสมผสานเทคนิค SEO ที่ช่วยให้ผู้อ่านค้นหาบทความได้ง่าย อย่าลืมติดตามกันนะคะ

      เนื้อหาในเอกสารหรือภาพนี้ประกอบด้วยความคิดเห็นและแนวคิดส่วนบุคคล ซึ่งอาจไม่สอดคล้องกับความคิดเห็นของบริษัท ข้อมูลในที่นี้ไม่ควรตีความว่าเป็นคำแนะนำด้านการลงทุนใดๆ และ/หรือการชักชวนให้ทำธุรกรรมใดๆ ไม่มีการแสดงถึงข้อผูกพันในการซื้อบริการการลงทุน และไม่รับประกันหรือคาดการณ์ผลการดำเนินงานในอนาคต บริษัท XS บริษัทในเครือ ตัวแทน กรรมการ เจ้าหน้าที่ หรือพนักงาน ไม่รับประกันห้วงเวลา ความสมบูรณ์หรือความถูกต้องของข้อมูลหรือข้อมูลใดๆที่มีให้ และไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสียใดๆที่เกิดจากการลงทุนตามข้อมูลดังกล่าวแพลตฟอร์มของเราอาจไม่มีผลิตภัณฑ์หรือบริการทั้งหมดที่กล่าวถึง

      scroll top
      @livewireScripts